ประวัติเทศบาล
ท้องถิ่นเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลเมืองมหาสารคาม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 มีคณะเทศมนตรีชุดแรกเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2480 ในการจัดตั้งเทศบาลเมืองมหาสารคามในช่วงแรกๆ ปรากฏว่ายังมีผู้ให้ความสนใจน้อยในการที่จะบริหารเทศบาล แต่ระยะต่อมาจึงได้เริ่มแข่งขันกันมากขึ้น ก่อนที่ นายบุญช่วย อัตถากร จะดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนั้น ได้ประกอบธุรกิจร้านขายหนังสือ ต่อมาได้ขยายกิจการกว้างขวางขึ้นจนกลายเป็นร้านสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในเมืองมหาสารคามภายใต้ชื่อ “ห้างธรรมอุดมพาณิชย์” นายบุญช่วย อัตถากร ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีเป็นระยะๆ หลังจากนั้นได้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีอีกหลายวาระ จนถึงช่วงสุดท้ายคือ พ.ศ. 2477 – 2511 รวมเป็นเวลา 22 ปี สำนักงานเทศบาลเมืองมหาสารคาม ระยะเริ่มแรกได้อาศัยสถานที่สโมสรเสือป่า เป็นที่ทำการของสำนักงานเทศบาลเมืองมหาสารคาม จนถึง พ.ศ. 2483 จึงย้ายไปอยู่สุขศาลา อำเภอเมืองมหาสารคาม เป็นเวลา 5 ปีเศษ แล้วย้ายสำนักงานมาชั้นบนตึกแถว 2 ชั้น (ปัจจุบันคือบริเวณตลาดสด) จนถึง พ.ศ. 2501 จึงย้ายมาอยู่อาคารหลังใหม่ และต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้ย้ายสำนักงานไปสร้างในที่ดินซึ่งมีผู้อุทิศให้ จำนวน 10 ไร่ เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น ดังในปัจจุบัน
ทำเนียบนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม
จากอดีต– ปัจจุบัน
รายนามนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม
ลำดับ | รายนามนายกเทศมนตรี | ช่วงดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายบุญช่วย อัตถากร | ๓ เม.ย ๒๔๘๐ – ๒๕ ส.ค. ๒๔๘๐ |
2 | นายสิงโต พรหมแสนวิเศษ | ๒๕ ส.ค. ๒๔๘๐ – ๔ เม.ย. ๒๔๘๑ |
3 | นายตู้ สารมาคม | ๕ เม.ย. ๒๔๘๑ – ๗ เม.ย. ๒๔๘๑ |
4 | นายฮวด ทองโรจน์ | ๘ เม.ย. ๒๔๘๑ - ๑๖ พ.ย. ๒๔๘๑ |
5 | นายตู้ สารมาคม | ๑๗ พ.ย. ๒๔๘๑ – ๒๓ เม.ย.๒๔๘๓ |
6 | นายฮวด ทองโรจน์ | ๒๔ เม.ย. ๒๔๘๓ – ๙ ธ.ค. ๒๔๘๔ |
7 | นายบุญช่วย อัตถากร | ๒๐ ม.ค. ๒๔๘๕ – พ.ค.๒๔๘๕ |
8 | นายบุญช่วย อัตถากร | พ.ค. ๒๔๘๕ – ๑๕ เม.ย. ๒๔๙๒ |
9 | หลวงบริหารชนบท | ๑๖ เม.ย. ๒๔๙๒ – ๒๐ ส.ค. ๒๔๙๒ |
10 | นายชม วัลลิภากร (ปลัดจังหวัด) | ๒๑ ส.ค. ๒๔๙๒ – ๒๐ ส.ค. ๒๔๙๓ |
11 | นายแปลก เรืองสุวรรณ | ๒๑ ส.ค. ๒๔๙๓ – ๖ ก.ย. ๒๔๙๔ |
12 | นายมนูญ ศรีสารคาม | ๗ ก.ย. ๒๔๙๔ – ๙ มิ.ย ๒๔๙๖ |
13 | นายนาถ เงินทาม | ๑๐ มิ.ย. ๒๔๙๖ – ๓๐ เม.ย. ๒๔๙๗ |
14 | นายจรัญ ณ สงขลา (ปลัดจังหวัด) | ๑ พ.ค ๒๔๙๗ – ๑๑ มิ.ย ๒๔๙๗ |
15 | นายบุญช่วย อัตถากร | ๑๒ มิ.ย ๒๔๙๗ – ๓ มิ.ย. ๒๔๙๘ |
16 | นายส่ง สุภโตษะ (ปลัดจังหวัด) | ๒ ก.พ. ๒๔๙๙ – ๒๐ ก.พ. ๒๔๙๙ |
17 | นายเกตุ วงศ์กาไสย | ๒๑ ก.พ. ๒๔๙๙ – ๒๘ ส.ค. ๒๔๙๙ |
18 | นายส่ง สุภโตษะ (ปลัดจังหวัด) | ๒๙ ส.ค. ๒๔๙๙ – ๑๐ ต.ค. ๒๔๙๙ |
19 | นายบุญช่วย อัตถากร | ๑๑ ต.ค. ๒๔๙๙ – ๑๖ เม.ย. ๒๕๐๓ |
20 | นายบุญช่วย อัตถากร | ๑๗ เม.ย. ๒๕๐๓ – ๑๕ มิ.ย. ๒๕๐๘ |
21 | นายบุญช่วย อัตถากร | ๑๖ มิ.ย. ๒๕๐๘ – ๔ ก.พ ๒๕๑๑ |
22 | นายเกตุ วงศ์กาไสย | ๒๖ ก.พ. ๒๕๑๑ – ๒ ม.ค. ๒๕๑๓ |
23 | นายสงวน เพชรวิเศษ | ๕ ม.ค ๒๕๑๓ – ๑ เม.ย ๒๕๑๓ |
24 | นายเกียรติ นาคะพงษ์ | ๔ พ.ค ๒๕๑๓ – ๑ เม.ย. ๒๕๑๕ |
25 | นายอายุทธ ฝ่ายคุณวงศ์ | ๒๖ ธ.ค. ๒๕๑๓ – ๖ ส.ค. ๒๕๑๗ |
26 | นายอรรถ วุฒิชัย | ๘ ส.ค. ๒๕๑๗ – ๔ พ.ย. ๒๕๑๗ |
27 | นายมนูญ ศรีสารคาม | ๒๕๑๗ – ๑๗ ธ.ค. ๒๕๑๗ |
28 | นายเกียรติ นาคะพงษ์ | ๑๘ ธ.ค. ๒๕๑๗ – ๙ มิ.ย. ๒๕๒๓ |
29 | นายเกียรติ นาคะพงษ์ | ๑๐ มิ.ย. ๒๕๒๓ – ๑๔ ส.ค. ๒๕๒๘ |
30 | นายประพิส ทองโรจน์ | ๑๕ ส.ค. ๒๕๒๘ – ๒๕ ธ.ค. ๒๕๓๐ |
31 | นายสุวิน ตาลรักษา | ๒๖ ธ.ค ๒๕๓๐ – ๑๗ เม.ย. ๒๕๓๓ |
32 | นายทองใบ วรเชษฐา (ปลัดจังหวัด) | ๑๘ เม.ย. ๒๕๓๓ – ๑๐ ก.ค. ๒๕๓๓ |
33 | ายสุรศักดิ์ วงศ์มังกร | ๑๑ ก.ค. ๒๕๓๓ – ๘ ต.ค ๒๕๓๓ |
34 | นายจีระศักดิ์ คณาสวัสดิ์ | ๙ ต.ค. ๒๕๓๓ – ๑๙ พ.ย. ๒๕๓๘ |
35 | นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล | ๒๐ พ.ย. ๒๕๓๘ – ๙ มี.ค. ๒๕๔๑ |
36 | นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล | ๑๐ มี.ค. ๒๕๔๑ – ๔ มี.ค ๒๕๔๓ |
37 | นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล | ๖ มี.ค. ๒๕๔๓ – ๑ ส.ค. ๒๕๔๔ |
38 | นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล | ๒๓ ส.ค. ๒๕๔๔ – ๙ ส.ค ๒๕๔๕ |
39 | นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล | ๑๐ ส.ค. ๒๕๔๕ – ๒๔ ธ.ค. ๒๕๔๖ |
40 | นายวิสุทธิ์ เจริญศรี (ปลัดเทศบาลรักษาการ) | ๒๕ ธ.ค. ๒๕๔๖ – ๑๔ มิ.ย. ๒๕๔๗ |
41 | นายฐิติรัตน์ ประสพสันต์วัฒนา | ๑๕ มิ.ย. ๒๕๔๗ – ๒๒ พ.ค ๒๕๕๑ |
42 | นายวิสุทธิ์ เจริญศรี (ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่) | ๒๓ พ.ค. ๒๕๕๑ – ๒๙ ก.ค. ๒๕๕๑ |
43 | นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ | ๓๐ มิ.ย. ๒๕๕๑ – ๒๘ มิ.ย. ๒๕๕๔ |
44 | นายวิสุทธิ์ เจริญศรี (ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่) | ๒๙ มิ.ย. ๒๕๕๔ – ๕ ส.ค. ๒๕๕๕ |
45 | นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ | ๑๑ ส.ค. ๒๕๕๕ – |
46 | นายสายยันต์ ภิรมย์กิจ (ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่) | |
47 | นายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์ | ปัจจุบัน |
สภาพกายภาพเมืองมหาสารคาม
สภาพภูมิศาสตร์
ลักษณะภูมิประเทศของเมืองมหาสารคามเป็นพื้นที่ราบสูงรูปกระทะคว่ำ โดยชุมชนเมืองจะเกาะตัวยาวตามถนนนครสวรรค์ในแนวทิศตะวันออก ไปด้านตะวันตกมีลักษณะเป็นเนินลาด และที่ราบลุ่มมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 130 -230 เมตร มีศูนย์กลางของเนินอยู่บริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ซึ่งเป็นเนินสูงสุดของพื้นที่ มีลำห้วยคะคางไหลผ่านตัวเมืองด้านตะวันตกไหลลงแม่น้ำชี และแก่งเลิงจาน ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มบริเวณตะวันตกของเมือง และบริเวณด้านใต้ของชุมชนมีคลองสมถวิลไหลผ่าน จากลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดแอ่งน้ำ และที่ลุ่มเป็นห้วง ๆ ตามแนวลำห้วย ทำให้พื้นที่โดยรอบเมืองเกิดเป็นพื้นที่ลุ่ม
ที่ตั้ง และขนาด
ตั้งอยู่เลขที่ 27 ถนนผังเมืองบัญชา ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000 เทศบาลเมืองมหาสารคาม ตั้งอยู่ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 24.14 ตารางกิโลเมตร หรือ 15,857.50 ไร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 475 กิโลเมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 130 – 230 เมตร มีลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย สภาพเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท ประชาชนยังมีความยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือติดต่อกันมา และมีการแบ่งชุมชนย่อยในเขตเทศบาลออกเป็น 30 ชุมชน หรือเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “คุ้ม” มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรบริหารส่วนตำบล ต่าง ๆ ดังนี้
-
ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกิ้ง
-
ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลแวงน่าง
-
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา
-
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอน
การใช้ประโยชน์ที่ดิน
การใช้ประโยชน์ที่ดินในเมืองมหาสารคามมีลักษณะผสมผสานกันตามวิถีชีวิตของคนไทยในชุมชนจำแนกได้ดังต่อไปนี้
-
ย่านพาณิชยกรรมหลักของเมือง ได้แก่ พื้นที่สองฟากถนนนครสวรรค์ ถนนผดุงวิถี และถนนวรบุตร
-
ย่านสถานที่ราชการ และสถานที่ศึกษา มี 2 บริเวณ ถนนนครสวรรค์ คือศูนย์ราชการหลักซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดเดิม และสถานที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นสถานศึกษาในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เช่น โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม โรงเรียนสารคามพิทยาคม เป็นต้น บริเวณที่สองระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 208 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213 เป็นที่ตั้งของแขวงการทางจังหวัดมหาสารคาม สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เดิมคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒมหาสารคาม) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (เดิมคือวิทยาลัยครูมหาสารคาม
สถาปัตยกรรม
สภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพของเมืองมีรูปแบบสถาปัตยกรรมทั่วไป และบางส่วนเป็นอาคารสถาปัตยกรรมทั้งรูปแบบเก่า และรูปแบบสมัยใหม่ ทั้งบ้านพักอาศัย อาคารการค้า และพาณิชยกรรม อาคารทางราชการ วัด และโรงเรียน เป็นต้น
-
อาคารทางศาสนา /วัฒนธรรม
-
อาคารพักอาศัยกึ่งค้าขายชั้นเดียว (ตึกดิน)
-
อาคารที่พักอาศัยกึ่งการค้าขาย 2 ชั้น (ตึกไม้)
-
อาคารพักอาศัยกึ่งค้าขาย 2-4 ชั้นปูน
-
อาคารการค้า 3 ชั้นปูน
-
อาคารราชการ
ตลาดสด
มีตลาดสด 1 แห่ง ดำเนินการโดยเทศบาลเมืองมหาสารคาม ซึ่งปัจจุบันยังสามารถรับการเจริญเติบโตของเมืองได้อย่างดี
ที่จอดรถโดยสาร
มีสถานีผู้โดยสาร 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณริมคลองสมถวิล ข้างห้างสรรพสินค้าเสริมไทยพลาซ่าให้บริการชนส่งผู้โดยสารระหว่างอำเภอ และจังหวัดต่าง ๆ ในหลายภูมิภาค รวมทั้งกรุงเทพมหานคร
เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม
เศรษฐกิจชุมชน เป็นชุมชนเมืองที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดทีมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้ชุมชนเมืองมหาสารคาม มรกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สามารถให้บริการทั้งในระดับเมือง และระดับจังหวัด ขยายตัวด้งกล่าวเป็นผลมาจากการผลิตทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น โดยสาขาการค้าส่งและค้าปลีก การผลิตสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 23.49 ต่อปี รองคือ สาขาการเกษตรกรรม และการศึกษา มีมูลค่าการผลิตคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.19 และ 15.19 รวมมีสถานประกอบกิจการค้าเพื่อการพาณิชย์ จำนวน 3,792 แห่ง ประเภทบริการห้องพักและห้องเช่า จำนวน 1,661 แห่ง มีสถานประกอบอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ จำนวน 286 แห่ง
ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่เมืองมหาสารคามยังคงมีอาชีพหลัก การทำนาโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลักอาชีพค้าขายและการรับราชการเป็นอาชีพรองลงมา กระนั้นก็ตามอัตราการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เกษตรกรรมในเมืองซึ่งมีอัตราการลดลงเรื่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปเป็นพื้นที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับกิจกรรมทางการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หอพัก และอาคารพาณิชยกรรม
วัฒนธรรมและประเพณี เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ นับถือพุทธศาสนา และส่วนใหญ่เป็นชาวอีสานดั้งเดิม ลักษณะวิถีชีวิตเป็นผู้ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี โอบอ้อมอารี
วัฒนธรรม และประเพณี
การจัดงานประเพณีที่เทศบาลได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำทุกปีโดยมีประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญดังนี้
-
งานวันขึ้นปีใหม่
-
งานบุญเบิกฟ้าและกาชาด
-
งานประเพณีสงกรานต์
-
งานประเพณีบุญบั้งไฟ
-
งานแห่เทียนเข้าพรรษา
-
งานประเพณีลอยกระทง
ลักษณะของแหล่งน้ำ
-
แหล่งน้ำ
หนอง บึง จำนวน 7 แห่ง ได้แก่
-
หนองบัวแดง (12 ไร่) คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 28,800 ลบ.ม.
-
หนองอีเก้ง (11 ไร่) คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 52,800 ลบ.ม.
-
หนองบอน (7 ไร่) คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 22,400 ลบ.ม.
-
หนองบักกิ้ง (3 ไร่) คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 3,800 ลบ.ม.
-
หนองกระทุ่ม (60 ไร่) คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 192,000 ลบ.ม.
-
หนองหอย (5 ไร่) คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 8,000 ลบ.ม.
-
หนองเลิงน้ำจั้น (33 ไร่ 15 งาน 98.82 ตารางวา) คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 28,800 ลบ.ม.
คลอง ลำธาร ห้วย จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
-
คลองสมถวิล
-
ลำห้วยคะคาง
-
ลำรางกุดนางใย
ลักษณะของไม้และป่าไม้
เทศบาลมีป่าไม้ในสวนสาธารณะ ดังนี้
-
สวนสาธารณะเลิงน้ำจั่น มีพื้นที่ 33.16 ไร่
-
สวนสาธารณะศรีสวัสดิ์ มีพื้นที่ 9.3 ไร่
-
สวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ มีพื้นที่ 12.49 ไร่
-
สวนสาธารณะหนองข่า มีพื้นที่ 41 ไร่
ด้านการเมือง/ การปกครอง
เขตการปกครอง
องค์กรเทศบาล เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ประกอบด้วยสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในท้องถิ่น โดยสภาเทศบาลเมืองมหาสารคามทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติมีจำนวน 18 คน และมีนายกเทศมนตรีเป็นฝ่ายบริหาร
-
สภาเทศบาล สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอยู่ในตำแหน่งวาระละ 4 ปี มีจำนวน 18 คน มีประธานสภา 1 คน และรองประธานสภา 1 คน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล
-
คณะผู้บริหาร ประกอบด้วย นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และรองนายกเทศมนตรี จำนวน 3 คน ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี จำนวน 1 คน และเลขานุการนายกเทศมนตรี จำนวน 2 คน ซึ่งมาจากนายกเทศมนตรีแต่งตั้ง
เขตการเลือกตั้ง
เทศบาลเมืองมหาสารคามแบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น 3 เขต มีจำนวนชุมชนทั้งสิ้น 31 ชุมชน ดังนี้
ตาราง : แสดงเขตการเลือกตั้งของชุมชนทั้ง 30 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม
เขต 1 | เขต 2 | เขต 3 |
---|---|---|
ชุมชนตักสิลา 1 | ชุมชนธัญญา 1 | ชุมชนเครือวัลย์ 1 |
ชุมชนตักสิลา 2 | ชุมชนธัญญา 2 | ชุมชนนาควิชัย 2 |
ชุมชนศรีสวัสดิ์ 1 | ชุมชนธัญญา 3 | ชุมชนนาควิชัย 3 |
ชุมชนศรีสวัสดิ์ 2 | ชุมชนสามัคคี 1 | ชุมชนอภิสิทธิ์ 1 |
ชุมชนศรีสวัสดิ์ 3 | ชุมชนสามัคคี 2 | ชุมชนอภิสิทธิ์ 2 |
ชุมชนปัจฉิมทัศน์ 1 | ชุมชนมหาชัย | ชุมชนอุทัยทิศ 1 |
ชุมชนปัจฉิมทัศน์ 2 | ชุมชนโพธิ์ศรี 1 | ชุมชนอุทัยทิศ 2 |
ชุมชนธัญญา 4 | ชุมชนโพธิ์ศรี 2 | ชุมชนอุทัยทิศ 3 |
ชุมชนศรีมหาสารคาม | ชุมชนนาควิชัย 1 | ชุมชนอุทัยทิศ 4 |
ชุมชนเครือวัลย์ 2 | ชุมชนส่องเหนือ | |
ชุมชนส่องใต้ | ||
ชุมชนบ้านแมด |
ประชากร
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
เทศบาลเมืองมหาสารคาม มีจำนวนประชากร คน (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2564) แยกตามอายุประชากรได้ดังนี้
ปี พ.ศ. | ชาย | หญิง | รวม |
---|---|---|---|
2561 | 22,403 | 39,293 | 51,696 |
2562 | 22,148 | 29,128 | 51,276 |
2563 | 21,715 | 28,355 | 50,070 |
2564 | |||
(ที่มา : กองทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2564)
ตารางที่ 2 : แสดงสถิติจำนวนประชากร ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยแยกรายละเอียด
จำนวนประชากรแยกตามชุมชน พ.ศ.2564
ประชากรทั้งหมดตามทะเบียนราษฎร์ | คน | 54,421 |
---|---|---|
แบ่งตามเพศ | ||
ชาย | คน | 23,060 |
หญิง | 31,361 | |
แบ่งตามช่วงอายุ | ||
0 - 3 ปี | คน | 1,604 |
4 - 6 ปี | คน | 1,172 |
7 -10 ปี | คน | 1,748 |
11 - 13 ปี | คน | 1,443 |
14 - 16 ปี | คน | 1,455 |
17 - 20 ปี | คน | 11,136 |
21 - 30 ปี | คน | 12,544 |
31 - 40 ปี | คน | 5,498 |
41 - 50 ปี | คน | 6,056 |
51 - 60 ปี | คน | 5,582 |
60 ปีขึ้นไป | คน | 6,043 |
จำนวนครัวเรือน | ครัวเรือน | 9,399 |
จำนวนหลังคาเรือน | หลังคา | 20,364 |
ประชากรแฝง (ประมาณ) | คน | - |
ประชากรที่ไม่ใช้สัญชาติไทย/แรงงานต่างด้าว (ประมาณ) | คน | 226 |
จำนวนการเกิด | คน | 2,660 |
จำนวนการตาย | คน | 6,498 |
(ที่มา : กองทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2564)
ข้อมูลพื้นฐานด้านประชากร ในปีงบประมาณ 2565
สภาพทางสังคม
ด้านการศึกษา
เทศบาลเมืองมหาสารคาม เป็นศูนย์กลางการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น
เมือง “ตักสิลานคร” เนื่องจากเป็นที่รวมของสถานศึกษาในระบบโรงเรียนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา เป็นจังหวัดที่มีสถานศึกษาเกือบทุกสังกัดกระจายอยู่ในจังหวัด โดยในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม สามารถจำแนกตามระบบการศึกษาและสังกัด ได้ดังนี้
-
สถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย
(1) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
(2) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
-
สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 2 แห่ง
ประกอบด้วย
(1) วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม
(2) วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม
-
สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
จำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย
(1) โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม
เรียนอนุบาลมหาสารคาม
-
สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม เขต 26
จำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย
(1) โรงเรียนสารคามพิทยาคม
(2) โรงเรียนผดุงนารี
-
สถานศึกษาสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(1) สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม
-
สถานศึกษาสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
(1) วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
-
สถานศึกษาอื่นๆ ประกอบด้วย
(1) โรงเรียนอนุบาลกิตติยา (เอกชน)
(2) โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม (เอกชน)
(3) โรงเรียนอนุบาลสกุลรัตน์ (เอกชน)
(4) โรงเรียนอภิสิทธิ์ปัญญา (เอกชน)
-
สถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาล
เมืองมหาสารคาม จำนวน 7 แห่ง ประกอบด้วย
(1) โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร
(2) โรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา
(3) โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย
(4) โรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ
(5) โรงเรียนเทศบาลสามัคคีวิทยา
(6) โรงเรียนเทศบาลโพธิ์ศรี
(7) โรงเรียนเทศบาลบ้านแมด
แบบข้อมูลจำนวนนักเรียน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
เทศบาลเมืองมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ข้อมูลจาก : กองการศึกษา เทศบาลเมืองมหาสารคาม ณ เดือนธันวาคม 2563
ด้านสาธารณสุข
-
โรงพยาบาลในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
(1) โรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 1 แห่ง เตียงคนไข้ จำนวน 472 เตียง
ที่ตั้ง : 1105 ถนนผดุงวิถี ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000 โทรศัพท์ : 0-4371-1289 , 0-4371-1463 , 0-4374-0993 – 6 โทรสาร : 0-4371-1433
(2) โรงพยาบาลสุทราเวช คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 1 แห่ง
เตียงคนไข้ จำนวน 472 เตียง ที่ตั้ง : ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000
โทรศัพท์ : 0-4371-1289 , 0-4371-1463 , 0-4374-0993 – 6 โทรสาร : 0-4371-1433
(3) โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง เตียงคนไข้ จำนวน 50 เตียง
ที่ตั้ง : โรงพยาบาลมหาสารคาม อินเตอร์เนชันแนล ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000 โทรศัพท์ : 0-4372-1770 , 0-4372-3669
-
ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 5 แห่ง ได้แก่
-
ศูนย์บริการสาธารณสุข (ศูนย์บูรพา) สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม
-
ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสามัคคี สังกัด โรงพยาบาลมหาสารคาม
-
ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองอุทัยทิศ สังกัด โรงพยาบาลมหาสารคาม
-
ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองราชภัฏศรีสวัสดิ์ สังกัดโรงพยาบาลมหาสารคาม
-
ศูนย์บริการทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสาคาม
-
คลินิกเอกชน จำนวน 54 แห่ง ได้แก่
-
คลินิกเวชกรรม จำนวน 41 แห่ง
-
คลินิกทันตกรรม จำนวน 4 แห่ง
-
คลินิกผดุงครรภ์ จำนวน 4 แห่ง
-
คลินิกแพทย์แผนไทย จำนวน 3 แห่ง
-
คลินิกแล็ป จำนวน 1 แห่ง
-
ผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ (จำนวนต่อปี) ปี 2556 จำนวน 187,299 คน
แยกเป็น
-
ผู้ป่วยใน 47,258 คน
-
ผู้ป่วยนอก 140,041 คนสาเหตุการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่ง
-
โรคระบบทางเดินหายใจ จำนวน 301,947 ราย/ปี
-
โรคระบบย่อยอาหาร จำนวน 188,861 ราย/ปี
-
โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตาบอลิซึม จำนวน 145,458 ราย/ปี
-
ประเภทการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุข
-
โรคระบบทางเดินหายใจ
-
โรคติดต่อเชื้อ และปรสิต
-
โรคระบบย่อยอาหาร
-
โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตาบอลิซึม
-
อาการการผิดปกติที่พบได้ด้วยการตรวจทางคลินิกและห้องปฏิบัติการ
บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม
(ศูนย์บริการทางแพทย์บูรพา)
-
พยาบาล จำนวน 5 คน
-
ทันตแพทย์ สัปดาห์ละ 1 คน / ครั้ง
-
นักวิชาการสุขาภิบาล จำนวน 2 คน
-
อสม. จำนวน 265 คนชมรมต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นในเขตเทศบาล จำนวน 8 ชมรม ได้แก่