กองคลัง

กองคลัง  ให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกา งานเกี่ยวกับเงินเดือน  ค่าจ้าง  ค่าตอบแทน  เงินบำเหน็จบำนาญ  เงินอื่น ๆ  งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ  ฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่าง ๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้ และรายจ่ายต่าง ๆ  การควบคุมการเบิกจ่าย  งานทำงบทดลองประจำเดือน  ประจำปี  งานเกี่ยวกับการพัสดุของเทศบาลและงานอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

กองคลัง  จัดแบ่งส่วนราชการภายใน  ดังนี้

ก.      ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

  • งานธุรการ

ข.      ฝ่ายบริหารงานคลัง

  • งานสถิติการคลัง

  • งานตรวจสอบการเบิกจ่าย

ค.      ฝ่ายการเงินและบัญชี

  •  งานการเงินและบัญชี

ง.       ฝ่ายพัสดุและทรัพย์สิน

  • งานการพัสดุ

  • งานทะเบียนและควบคุมทรัพย์สิน

จ.      ฝ่ายพัฒนารายได้

  • งานพัฒนาและเร่งรัดรายได้

  • งานผลประโยชน์และกิจการพาณิชย์

ฉ.   ฝ่ายแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน

  • งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน

ช. ฝ่ายระเบียบการคลัง

  • งานระเบียบการคลัง

งานบริการประชาชนกองคลัง

ภาษีป้าย  หมายถึง  ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ  ยี่ห้อ  หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า  หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า  หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้  ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลักจารึก  หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย  คือ  เจ้าของป้าย  ซึ่งแสดงป้ายชื่อยี่ห้อหรือ  เครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบกิจการ  โดยมีเจตนาเพื่อหารายได้  หรือโฆษณาการค้า  หรือกิจการอื่น ๆ เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะมีเจตนาแสดงไว้เพื่อโฆษณาโดยวิธีใดก็ตาม

 อัตราภาษีป้าย

  1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนคิดภาษี 3 บาทต่อ 500 ตร.ซม.

  2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพและหรือเครื่องหมาย คิดภาษี 20 บาทต่อ 500 ตร.ซม.

  3. (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพและหรือเครื่องหมายใด ๆ

         (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยทั้งหมดหรือบางส่วนอยู่ใต้และหรืออยู่ต่ำกว่าอักษรต่างประเทศคิดภาษี 40 บาทต่อ 500 ตร.ซม. ** ป้ายเมื่อคำนวณพื้นที่จำนวนเงินภาษีไม่ถึงป้ายละ 200 ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท **  เอกสารหลักฐานที่นำมาใช้ในการติดต่อ

  1. ทะเบียนบ้านบัตรประจำตัวประชาชน

  2. สำเนาหนังสือรับรองสำนักทะเบียนหุ้นส่วน บริษัท

  3. รายละเอียดเกี่ยวกับป้ายทั้งลักษณะข้อความภาพขนาดรูปร่างและรูปตัวของป้าย (ถ้ามี)

  4. สถานที่ติดตั้งหรือแสดงป้าย

  5. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากร (กรณีมอบอำนาจ)

 กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย

เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป. 1) ภายในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี

** กรณีเปลี่ยนแปลงป้ายเช่นติดตั้งใหม่ยกเลิกป้ายต้องยื่นคำร้องภายใน 15 วันอัตราภาษีป้าย (บาท/500 ตร.ซม.)

ประเภท 1 อักษรไทยล้วน

  • ข้อความเคลื่อนที่ /เปลี่ยนได้ 10 บาท

  • ข้อความที่ไม่เคลื่อนที่ /เปลี่ยนไม่ได้ 5 บาท

ประเภท 2 อักษรไทยปนกับต่างประเทศ /ภาพ/เครื่องหมายอื่น

  • ข้อความเคลื่อนที่ /เปลี่ยนได้ 52 บาท

  • ข้อความที่ไม่เคลื่อนที่ /เปลี่ยนไม่ได้ 26 บาท

ประเภท 3 ไม่มีอักษรไทย-อักษรไทยอยุ่ใต้หรือต่ำกว่าต่างประเทศ

  • ข้อความเคลื่อนที่ /เปลี่ยนได้ 52 บาท

  • ข้อความที่ไม่เคลื่อนที่ /เปลี่ยนไม่ได้ 50 บาท

 ยื่นแบบได้ตั้งแต่ เดือนมกราคม – มีนาคม 2564

ชำระภาษี
ภายใน 15 วัน นับแต่วันแจ้งเตือนการประเมิน

ค่าปรับ
ไม่มายื่นแบบตามกำหนดปรับ 5,000 – 50,000 บาท  (2% ของค่าภาษีต่อเดือน)

กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

  1. การทำโรงสีข้าว และการทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร

  2. การขายสินค้าอย่างเดียวหรือหลายอย่าง

  3. นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้า

  4. การประกอบหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรม และขายสินค้าที่ผลิตได้

  5. การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ  หรือเรือยนต์ประจำทาง  การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง  การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง

  6. . กิจการค้าอัญมณี  หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี

  7.  การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย

  8. การซื้อขายสินค้า หรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย

  9. การบริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต

  1. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ

  2. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์

  3. การให้บริการตู้เพลง

  4. โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก การทำหัตถกรรมจากงาช้าง  การค้าปลีก  การค้าส่งงาช้าง   และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์

  1. บัตรประจำตัว / ทะเบียนบ้าน ของเจ้าของหรือผู้จัดการแล้วแต่กรณี

  2. สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้าน

  3. หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่หรือสำเนาสัญญาเช่าโดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้ให้เช่า (เจ้าของทรัพย์สิน)

  4. แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ พอสังเขป

  5. หนังสือมอบอำนาจ / สำเนาบัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ

อัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์

                จดทะเบียนพาณิชย์                                                                       50  บาท

                จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ  ครั้งละ                                        20  บาท

                จดทะเบียน เลิกประกอบพาณิชยกิจ                                               20  บาท

                ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์  ฉบับละ                               30  บาท

                ขอตรวจดูเอกสารเกี่ยวกับทะเบียน  ครั้งละ                                     20  บาท

                ขอให้เจ้าหน้าที่รับรองเอกสาร  ฉบับละ                                           30  บาท

สถานีขนส่ง

          สถานีขนส่งเทศบาลเมืองมหาสารคาม ตั้งอยู่ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000  เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2573  แล้วเสร็จและประกาศเป็นสถานีขนส่งเทศบาลเมืองมหาสารคาม เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2515  ปัจจุบันได้ทำการปรับปรุงและก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่เมื่อ พ.ศ. 2557  มีผู้ประกอบการจำนวน  12 ราย 15 เส้นทางเดินรถ

  1. บริษัทชาญทัวร์ 1  เส้นทาง

  2. บริษัทขอนแก่นชนะชัย 3  เส้นทาง

  3. บริษัทสหสารคามยานยนต์ 1  เส้นทาง

  4. บริษัทสงวนชัยเดินรถ 2  เส้นทาง

  5. บริษัทสหพันธ์ทัวร์ 1  เส้นทาง

  6. บริษัทขนส่ง 99999 1  เส้นทาง

  7. บริษัทวาปีเดินรถ 1  เส้นทาง

  8. บริษัทเชิดชัยทัวร์ 1  เส้นทาง

  9. บริษัทแสงประทีป 2  เส้นทาง

  10. บริษัทรุ่งประเสริฐ 1  เส้นทาง

  11. บริษัทหลักเมือง 2  เส้นทาง

ผู้ใช้บริการประมาณ 2,000 – 2,500  คน/ต่อวัน  มีชานชาลาช่องจอด  22  ช่อง มีผู้จำหน่ายสินค้าในอาคารจำนวน 2 ราย

ตลาดโต้รุ่ง

          ตลาดโต้รุ่งเทศบาลเมืองมหาสารคาม ตั้งอยู่ ถนนผังเมืองบัญชา ตำบลตลาด อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม เป็นแหล่งจำหน่ายอาหารมากมาย สะอาดถูกสุขลักษณะให้แก่พี่น้องประชาชนที่มาจับจ่าย

ตลาดสด

ตลาดสดปัจจุบันตั้งอยู่ตำบลตลาด  อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคามย้ายมาจากตลาดเจริญมายังสถานที่ปัจจุบันและได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ตลาดของเรา” ลักษณะของตลาดในระยะแรกสร้างเป็นอาคารไม้ มีร้านค้าอยู่ไม่มากครั้น พ.ศ. 2478 ตลาดของเราเริ่มมีการค้าขายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้คนที่ย้ายมาใหม่ และอาศัยตามชุมชนข้าราชการโดยเฉพาะที่มากแถบโคราชได้เปิดร้านค้ามากขึ้น เช่นร้ายก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง ขนมไทยต่าง ๆ

          ใน พ.ศ. 2505 นายบุญช่วย อัตถากร ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม ได้มีการสร้างตึกโค้ง โดยมีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น  ชั้นบนเป็น “โรงแรมไทยประคอง” ด้านล่างเป็นตลาดและสถานที่ราชการ เช่นสำนักงานเทศบาลสุขศาลา  สถานธนานุบาล และมีห้างทองร้านแรก คือห้างภัทราภรณ์  ห้างอีฮง ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 บรรดาสถานที่ราชการได้ย้ายจากตึกโค้ง และโรงแรมไทยประคองก็เลิกกิจการไป

ตลาดห้าแยก

          ตั้งอยู่ตำบลตลาด  อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (บริเวณ 5 แยก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตในเมือง)