สำนักปลัดเทศบาล

 

สำนักปลัดเทศบาล ให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานราชการทั่วไปของเทศบาล งานเลขานุการของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี งานกิจการสภาเทศบาล งานสวัสดิการสังคม งานสังคมสงเคราะห์   งานพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส งานกิจการขนส่ง งานส่งเสริมการท่องเที่ยว งานส่งเสริมการเกษตร งานการพาณิชย์ งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ งานป้องกันและบรรเทา         สาธารณภัย  งานเทศกิจ  งานรักษาความสงบเรียบร้อย  งานจราจร  งานวิเทศสัมพันธ์  งานสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ งานส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ งานนิติการ งานทะเบียนราษฎร     งานบัตรประจำตัวประชาชน งานการเลือกตั้ง งานคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ  งานสิ่งแวดล้อม และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกอง สำนัก หรือส่วนราชการใดในเทศบาลเป็นการเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของเทศบาล งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

สำนักปลัดเทศบาล  จัดแบ่งส่วนราชการภายใน  ดังนี้

   ก. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

        – งานธุรการ

        – งานจัดการเลือกตั้ง

   ข. ฝ่ายปกครอง

         – งานรักษาความสงบและความมั่นคง

   ค. ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

        – งานป้องกันและระงับอัคคีภัย

        – งานกู้ภัยและบรรเทาภัย

        – งานส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชน

   ง. ฝ่ายประสานงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

        – งานกิจการสภา 

   จ. กลุ่มงานนิติการ

        – งานนิติการ

งานบริการประชาชนของสำนักปลัดเทศบาล
–  งานอนุญาตให้มีการติดตั้งป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ เป็นงานที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับ ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2535 ออกตามความใน พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 อาศัย อำนาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความ เป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535

– งานอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง เป็นงานที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับประชาชนในเขตพื้นที่รับ ผิดชอบซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2493) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุม การโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493, ระเบียบปฏิบัติการยื่นคำร้องและการพิจารณาออกใบ อนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 ข้อ 4, ข้อ 7, ข้อ 10 กฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ ในการดำเนินการ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง สมบูรณ์

ขั้นตอนและระยะการให้บริการ

1. การอนุญาตให้ติดตั้งป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ ขั้นตอนการติดต่อ

     1.1. ยื่นคำร้องตามแบบ ร.ส. 2
             – พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน
             – พร้อมตัวอย่างแผ่นประกาศหรือใบเสร็จที่จะโฆษณา จำนวน 2 ชุด

     1.2 ชำระค่าธรรมเนียมในการขออนุญาต

อัตราค่าธรรมเนียม
         – หนังสือขออนุญาตให้ปิด ทิ้ง โปรย แผ่นประกาศ หรือใบปลิวเพื่อการโฆษณา ที่เป็นการโฆษณาที่เป็นการค้า ฉบับละ 200 บาท อนุญาตครั้งละไม่เกิน 60 วัน

         – หนังสืออนุญาตให้ปิด ทิ้ง หรือ โปรยแผ่นประกาศ หรือใบปลิวเพื่อการ โฆษณาอื่น ๆ ที่ไม่เป็นการค้า ฉบับละ 100 บาท อนุญาตครั้งละไม่เกิน 30 วัน

     1.3 เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้ผู้รับอนุญาตแสดงข้อความว่าได้รับอนุญาต จากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยแสดงเลขที่ และวัน เดือน ปีที่รับหนังสืออนุญาตลงในแผ่น ประกาศ หรือใบปลิวด้วย

     1.4 ระยะเวลาในการติดต่อราชการ 10 นาที

2. การขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง ขั้นตอนการติดต่อ

     2.1 ผู้ประสงค์จะขออนุญาตทำการโฆษณาให้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามแบบคำขอ ฆ.ษ.1
            – พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน

2.2 ขอใบอนุญาตตามแบบ ฆ.ษ. 2

ประเภท 1 การโฆษณากิจการที่ไม่เป็นไปในทำนองการค้าครั้งละไม่เกิน 15 วัน

ประเภท 2 การโฆษณาที่เป็นไปในทำนองการค้า

          ก. โฆษณาเคลื่อนที่ คราวละไม่เกิน 5 วัน

          ข. โฆษณาประจำที่ คราวละไม่เกิน 15 วัน

2.3 เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตนั้นไปแสดงต่อนายตำรวจขั้น สัญญาบัตรท้องที่นั้น

อัตราค่าธรรมเนียม

          ก. กรณีโฆษณากิจการที่ไม่เป็นไปในทำนองการค้า ฉบับละ 10 บาท

          ข. กรณีที่เป็นทำนองการค้า โฆษณาเคลื่อนที่ ฉบับละ 60 บาท โฆษณาประจำที่ ฉบับละ 75 บาท

2.4 ระยะเวลาในการติดต่อราชการ 5 นาที

3. การขออนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ

      – ยื่นคำขอตรวจสอบคำขอพร้อมเอกสารหลักฐาน
      – รายงานผู้บริหารพิจารณาสั่งการ (7 วัน)
      – ตรวจสอบสถานที่ดำเนินการ
      – ออกใบอนุญาต/ไม่ออกใบอนุญาตแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ

4. การขออนุญาตใช้ถนน
      – ยื่นคำร้องขออนุญาต
      – ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
      – การพิจารณาอนุญาต/ไม่อนุญาต ขอใช้ไม่เกิน 3 วัน/ขอใช้เกิน 3 วัน
      – กรณีอนุญาตรับหนังสืออนุญาต ขำระค่าธรรมเนียม /ติดต่อประสานงาน สภ.อ.เมืองมหาสารคาม
      – หลักเกณฑ์กรณีปิดการจราจร  ไม่ปิดกั้นถนน/การจราจร  ,ไม่กีดขวางการจราจร/การสัญจรไปมา  ความปลอดภัยผู้ใช้รถใช้ถนน
      – ในการยื่นคำร้องจะต้องติดต่อขอยื่นคำร้องก่อนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

     1. สำเนาบัตรประชาชน/สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
     2. สำเนาทะเบียนบ้าน หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นหนังสืออนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ
     3. แผนผังประกอบการขออนุญาต การแก้ไขปัญหา
     4. การขอรับการสนับสนุนน้ำอุปโภค – บริโภค

ระยะเวลาดำเนินการ  3 ชั่วโมง
     – ยื่นหนังสือ /คำร้องขอรับการสนับสนุน
     – ผู้มีอำนาจอนุมัติ  3  ชั่วโมง
     – ให้การสนับสนุนทันทีภายหลังจากการได้รับอนุมัติ

6. การขอรับการช่วยเหลือสาธารณภัย
     – รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทางวิทยุ – โทรศัพท์
     – รับแจ้งเหตุวาตภัยบ้านพัง – ต้นไม้ล้ม
     – รับแจ้งเหตุอุทกภัย
     – สาธารณภัยอื่น ๆ สัตว์ร้ายเข้าบ้าน  งูมีพิษ

7. ศูนย์ อปพร. เทศบาลเมืองมหาสารคาม    
     – ขอสนับสนุนสมาชิก อปพร. จัดการจราจร/รักษาความสงบเรียบร้อย


ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

     เทศบาลเมืองมหาสารคามได้รับใบอนุญาตการเป็นหน่วยฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น และหน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

มีการจัดอบรมฝึกซ้อมอพยพหนีไฟให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ในเขตเทศบาล