สำนักช่าง

สำนักช่าง ให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานสำรวจ งานออกแบบและเขียนแบบ งานประมาณราคา งานจัดทำราคากลาง งานจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรมต่าง ๆ งานจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานจัดทำทะเบียนประวัติโครงสร้างพื้นฐาน อาคาร สะพาน คลอง แหล่งน้ำ งานติดตั้งซ่อมบำรุง ระบบไฟส่องสว่างและไฟสัญญาณจราจร งานปรับปรุงภูมิทัศน์ งานผังเมืองตามพระราชบัญญัติการผังเมือง งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานตรวจสอบการก่อสร้าง งานจัดทำแผนปฏิบัติงานการก่อสร้างซ่อมบำรุงประจำปี งานควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานจัดทำประวัติติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกล งานจัดทำทะเบียนประวัติการใช้เครื่องจักรกลและยานพาหนะ งานแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ งานเกี่ยวกับการประปา งานเกี่ยวกับการช่างสุขาภิบาล งานช่วยเหลือสนับสนุนเครื่องจักรกล งานช่วยเหลือสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานช่วยเหลือสนับสนุนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งานจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดซื้อ เก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการด้านวิศวกรรมต่าง ๆ  งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

สำนักช่าง  จัดแบ่งส่วนราชการภายใน  ดังนี้

ก. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

     – งานธุรการ

ข. ส่วนควบคุมการก่อสร้างอาคารและผังเมือง

       ฝ่ายควบคุมอาคาร

         – งานควบคุมอาคาร
– งานผังเมือง

       ฝ่ายควบคุมการก่อสร้าง

        – งานวิศวกรรม
– งานสถาปัตยกรรม

   ค. ส่วนการโยธา

       ฝ่ายสาธารณูปโภค

        – งานสาธารณูปโภค
– งานสวนสาธารณะ
– งานสถานที่และไฟฟ้าสาธารณะ
– งานวิศวกรรมออกแบบจราจร

       ฝ่ายเครื่องจักรกล

        – งานศูนย์เครื่องจักรกล

       ฝ่ายช่างสุขาภิบาล

        – งานควบคุมและตรวจสอบบำบัดน้ำเสีย
– งานกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

งานบริการประชาชนสำนักการช่าง

1. การขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร ดัดแปลง รื้อถอน หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร

            ส่วนควบคุมการก่อสร้างอาคารและผังเมือง เป็นส่วนที่มีความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชน เกี่ยวกับกระบวนงานการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เปลี่ยนการใช้อาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายหลักหรือกฎหมายแม่บท กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดในการขออนุญาต ข้อกำหนดทางด้านวิศวกรรม ด้านสถาปัตยกรรม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อม กฎหมายทางหลวง ประกาศกฎกระทรวงคมนาคม เขต ปลอดภัยทางการบิน กฎหมายโบราณสถาน ซึ่งนำมาประกอบการพิจารณาในอาคารแต่ละประเภท

            กฎหมายควบคุมอาคาร เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในท้องที่ที่มีความเจริญมีการก่อสร้างอาคารค่อนข้างหนา แน่น หากท้องที่ใดต้องการควบคุมการก่อสร้างอาคารให้มีความสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อยมีความมั่นคงแข็ง แรงปลอดภัยจะต้องประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในท้องที่นั้นๆ ก่อนกฎหมายควบคุมอาคารจึงจะมีผลบังคับใช้หรือหากท้องถิ่นใดที่อยู่ในเขตผังเมืองรวม ตามกฎหมายผังเมือง แล้วก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารจะต้องได้รับอนุญาตจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน กระทำการดังกล่าว แต่สำหรับอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน และโรงมหรสพ โรงแรม   สถานบริการ อาคาร ชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม ป้าย ไม่ว่าจะก่อสร้างในที่ใดก็ตามจะในเขตควบคุมหรือนอกเขตควบคุมอาคารต้อง ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนทุกกรณ

ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร

          1.  (อาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้น 30 วัน)

                 – (อาคารสูง 3 ชั้นขึ้นไป 30 วัน)

                 – (อาคารประเภทควบคุมการใช้หรืออาคาร ขนาดใหญ่ 45 วัน)

         2. รับคำร้อง ลงทะเบียน ประทับแบบ ลงรหัส กรอกข้อมูลเข้าระบบ e-Building

         3. เสนอผู้ที่ได้รับมอบหมายตรวจแบบแปลน

         4. ชำระค่าธรรมเนียม

         5. เสนอใบอนุญาต

         6. อนุมัติแบบ และ อนุมัติใบอนุญาตพร้อมกัน

เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องใช้

          1. ยื่นขออนุญาต ตามมาตรา 21

          2. ยื่นแจ้งตามมาตรา 39 ทวิ

เอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นขออนุญาต ตามมาตรา 21

           1. แบบคำขออนุญาตก่อสร้าง รื้อถอนหรือดัดแปลงอาคาร (แบบ ข.1)

           2. แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด

           3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านผู้ยื่นขอรับใบอนุญาต จำนวน 2 ชุด

           4. สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน (โฉนดที่ดิน/น.ส.3/ส.ค.1) จำนวน 2 ชุด

           5. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์และผู้มีอำนาจลงชื่อแทน จำนวน 1 ชุด     นิติบุคคล ผู้ขออนุญาต ที่ออกไม่เกิน 6 เดือน

           6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนของ ผู้จัดการ/ผู้แทนนิติบุคคล จำนวน 2 ชุด

           7. หนังสือแสดงว่า เป็นผู้จัดการหรือผู้แทนซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการของนิติบุคคล จำนวน 1 ชุด (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต)

           8. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีตัวแทนเจ้าของอาคาร เป็นผู้ขออนุญาต) พร้อมติดอากรแสตมป์

           9. เอกสารแสดงความยินยอมให้ปลูกสร้างอาคาร ในที่ดิน (กรณีขออนุญาตก่อสร้างดัดแปลงอาคารในที่ดินผู้อื่น)

          10. รายการคำนวณ 1 ชุด

          11. หนังสือรับรองพร้อมสำเนาใบประกอบวิชาชีพ ของสถาปนิกและวิศวกรผู้ออกแบบ กรณีเป็นอาคารควบคุมตามกฎหมายวิชาชีพ

          12. หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงาน (น.4) พร้อมสำเนาใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม

          13. หนังสือแสดงความยินยอมให้ก่อสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน (กรณีก่อสร้างอาคารห่างเขตที่ดิน น้อยกว่า 0.50 เมตร)

          14. หนังสือยินยอมให้ก่อสร้างอาคารในที่ดิน ของผู้ให้ชิดเขตกรณีที่ไม่ใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เป็นผู้ยื่น ขออนุญาต จะต้องได้รับคำยินยอม จากผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามรายชื่อที่มีในโฉนดที่ดินพร้อมสำเนาบัตร ประจำตัวประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน

          15. รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

2. การตรวจสอบอาคารเพื่อขอเลขที่อาคาร

ระยะเวลาดำเนินการ  3 วัน

           – ยื่นเอกสารตรวจสอบ

           – หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบ  1 วัน

           – ผู้อำนวยการตรวจสอบ  1 วัน / อนุญาต

เอกสารหลักฐานการตรวจสอบอาคารเพื่อขอเลขที่อาคาร

          1. สำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง

          2. แบบแปลนที่ได้รับอนุญาต  1 ชุด

          3. สำเนาทะเบียนบ้าน

          4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

          5. สำเนาเอกสารสิทธิ์ที่ดิน

          6. บ้านเลขที่ใกล้เคียง

3. การขอความอนุเคราะห์เรื่องต่าง ๆ

ระยะเวลาดำเนินการ  1  วัน

            – ยื่นคำร้องหรือติดต่อประสานด้วยวาจา

            – ตอบผู้ยื่นคำร้องหรือประสานด้วยวาจา  5  นาที

            – อนุญาต

สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองมหาสารคาม

            สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองมหาสารคาม มีพื้นที่ประมาณ 49 ไร่  ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองมหาสารคาม ออกไปทางอำเภอวาปีปทุม เป็นระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร อยู่ในเขตพื้นที่บ้านหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เทศบาลเมืองมหาสารคามได้รับงบประมาณในการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด จากกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (ขณะนั้น) เมื่อปี พ.ศ. 2539 และการศึกษาออกแบบแล้วเสร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2540 จึงได้ดำเนินการก่อสร้างระบบฝังกลบขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) จำนวน 4 บ่อแล้วเสร็จและเริ่มเปิดให้บริการรับกำจัดขยะในปี 2543 ปัจจุบันมีเครือข่ายที่ร่วมกำจัดขยะทั้งหมด 7 แห่ง ได้แก่

  1. เทศบาลเมืองมหาสารคาม 40.69 ตัน/วัน

  2. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2.51 ตัน/วัน

  3. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 0.85 ตัน/วัน

  4. เทศบาลตำบลท่าขอนยาง 5.62 ตัน/วัน

  5. เทศบาลตำบลขามเรียง ยังไม่มีข้อมูล

  6. บริษัทสารคามบ้านไผ่พัฒนา 0.20 ตัน/วัน

  7. โรงงานเชือดไก่ยาใจ 0.02 ตัน/วัน

                            ปัจจุบันมีขยะเข้าสู่ระบบประมาณวันละ 49.89 ตัน/วัน