ยุทธศาสตร์การพัฒนา

  • พันธกิจที่ 1 พัฒนาทุนทางสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ อนุรักษ์และพัฒนาศิลปะวัฒนธรรมในทุกมิติให้เกิดคุณค่าทางสังคมเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมือง

ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 1 พัฒนาระบบการศึกษาของโรงเรียนให้มีคุณภาพ นักเรียนได้เรียนตามศักยภาพและความถนัด

          เป้าประสงค์ที่ 1  ผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนด้านวิชาการในทุกระดับชั้นได้คุณภาพตามเกณฑ์

ตัวชี้วัดที่ 1   ร้อยละของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)

ตัวชี้วัดที่ 2   ร้อยละของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)

ตัวชี้วัดที่ 3   ร้อยละของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)

ตัวชี้วัดที่ 4   ร้อยละของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา (ป.1) มีคะแนนการทดสอบการประเมินความสามารถ ด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ตามแบบทดสอบมาตรฐาน

ตัวชี้วัดที่ 5   ร้อยละของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา (ป.3) มีคะแนนการทดสอบการประเมินความสามารถพื้นฐาน National Test  (NT) สูงขึ้น

ตัวชี้วัดที่ 6   ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบวัดความรู้ทางภาษาอังกฤษ ขั้นเริ่มต้น ผ่านเกณฑ์ CEFR หรือแบบทดสอบมาตรฐานที่ใกล้เคียง ระดับ A1

ตัวชี้วัดที่ 7  ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาภาคบังคับ (ม.3) มีผลการทดสอบวัดความรู้ทางภาษาขั้นเริ่มต้นผ่านเกณฑ์ CEFR ระดับ A2

ตัวชี้วัดที่ 8   ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.6) มีผลการทดสอบวัดความรู้ทางภาษาขั้นเริ่มต้นผ่านเกณฑ์ CEFR ระดับ B1

          เป้าประสงค์ที่ 2 โรงเรียนบรรลุผลลัพธ์การจัดการเรียนที่มุ่งเน้นความโดดเด่นของโรงเรียนและผู้เรียนได้เรียนสอดคล้องกับความถนัดและศักยภาพของตนเอง

ตัวชี้วัดที่ 9  จำนวนโรงเรียนที่บรรลุตัวชี้วัดการขับเคลื่อนนโยบายจุดเน้นบรรลุเป้าหมายความโดดเด่นของโรงเรียนตามเกณฑ์

ตัวชี้วัดที่ 10  ร้อยละของนักเรียน ได้เรียนรู้ตามที่ตนเองชอบและมีทักษะ

ตัวชี้วัดที่ 11  ร้อยละของนักเรียนที่จบการศึกษา ม.3 สามารถเรียนต่อในสาขาที่ถนัดหรือมีงานทำ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2  ค้นหาและพัฒนาศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นหรือศิลปะร่วมสมัยให้เกิดคุณค่าแก่ชุมชน หรือเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ

          เป้าประสงค์ที่ 3  มีอัตลักษณ์ของเมืองหรือชุมชนที่โดดเด่นที่สามารถนำมาสร้างคุณค่าแก่สังคมและสร้างมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจ

ตัวชี้วัดที่ 12  จำนวนครั้งและระดับความสำเร็จของกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าต่อชุมชนและเกิดมูลค่า

ด้านเศรษฐกิจ

  • พันธกิจที่ 2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สุขภาพ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เป็นเมืองแห่งการประกอบอาชีพ อยู่อาศัยเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการอยู่อาศัย การคมนาคม การประกอบอาชีพ

          เป้าประสงค์ที่ 4  เมืองมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีเอื้อต่อการเดินทาง การประกอบอาชีพและมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อ การอยู่อาศัย

ตัวชี้วัดที่ 13   จำนวนถนนลูกรังที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นถนน คสล. (ตร.ม.)

ตัวชี้วัดที่ 14   จำนวนจุดไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะเพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัดที่ 15   จำนวนทางเท้าที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุง (ตร.ม)

ตัวชี้วัดที่ 16   จำนวนจุดที่มีน้ำท่วมขังบนผิวจราจรลดลง  

ตัวชี้วัดที่ 17   จำนวนสายทางที่ได้รับการจัดระเบียบสายไฟฟ้าและสายสื่อสาร

ตัวชี้วัดที่ 18  ระดับความสำเร็จของการเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำเสียเฟส 3

ตัวชี้วัดที่ 19  ระดับความสำเร็จของเพิ่มประสิทธิภาพบ่อขยะมูลฝอย

ตัวชี้วัดที่ 20  ระดับความสำเร็จของการปรับปรุงคลองสมถวิลให้เป็น Land mark ของเมือง

ตัวชี้วัดที่ 21  จำนวนสวนสาธารณะที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุง (ตามเกณฑ์มาตรฐาน)

ตัวชี้วัดที่ 22  อัตราการผลิตขยะต่อวัน/คน (กก.)

          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4  พัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้มีคุณภาพ ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการ

          เป้าประสงค์ที่ 5   ลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชน และมีความพร้อมต่อการป้องกันโรคอุบัติใหม่และภัยคุกคามต่อสุขภาพ

ตัวชี้วัดที่ 23   อัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ต่อประชากร 1,000 คน

ตัวชี้วัดที่ 24   อัตราการเกิดผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ ต่อประชากร 1,000 คน

ตัวชี้วัดที่ 25   คะแนนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักการเตรียมความพร้อมการป้องกันโรคอุบัติใหม่และภัยคุกคามด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดที่ 26   จำนวนผู้สูงอายุกลุ่มที่มีสุขภาพระดับกลุ่มสุขภาพที่ต่ำลง

                              – กลุ่มติดสังคมเป็นกลุ่มติดบ้านรายใหม่  (จากฐาน 5,800 คน)

                               – กลุ่มติดบ้านเป็นกลุ่มติดเตียงรายใหม่

  • พันธกิจที่ 3 พัฒนาเครือข่ายทางสังคม พลเมือง และองค์กรธุรกิจให้เป็นเมืองที่ประชาชนทุกกลุ่มเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5  พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน สร้างชุมชนให้เข็มแข็ง และสนับสนุนให้เครือข่ายทางสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองในทุกมิติให้เป็นสังคมเอื้ออาทร สงบสุข

          เป้าประสงค์ที่ 6  ชุมชนมีความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เป็นเมืองที่สงบสุข ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองในทุกมิติ

ตัวชี้วัดที่ 27  จำนวนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์

ตัวชี้วัดที่ 28  จำนวนองค์กรมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง

ตัวชี้วัดที่ 29  จำนวนชุมชนที่สามารถรับภารกิจถ่ายโอนตามเกณฑ์ที่กำหนด

ตัวชี้วัดที่ 30  จำนวนบ้านที่จัดหาและซ่อมแซมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ยากไร้ด้อยโอกาสและผู้ที่มีรายได้น้อยในชุมชน

ตัวชี้วัดที่ 31  จำนวนผู้พิการมีงานทำตาม พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

          เป้าประสงค์ที่ 7  เป็นเมืองที่สงบสุข ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ตัวชี้วัดที่ 32  จำนวนครั้งของการเกิดอาชญากรรมลดลงจากปีที่ผ่านมา

ตัวชี้วัดที่ 33  อัตราตายจากอุบัติเหตุทางถนน

ตัวชี้วัดที่ 34  จำนวนครั้งที่เกิดของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน

ตัวชี้วัดที่ 35  จำนวนครั้งของการเกิดอัคคีภัย

ตัวชี้วัดที่ 36  ระยะเวลาเดินทางดับรถดับเพลิงไฟถึงสถานที่เกิดเหตุหลังได้รับแจ้ง

  • พันธกิจที่ 4 พัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรท้องถิ่นมีศักยภาพสูงที่มีนวัตกรรมในทุกมิติ และมีธรรมาภิบาล

          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6  พัฒนาเทศบาลให้เป็นองค์กรท้องถิ่นที่บุคลากรมีสมรรถนะสูงพร้อมต่อการให้บริการมีนวัตกรรมและมีธรรมาภิบาล

          เป้าประสงค์ที่ 8  บุคลากรมีสมรรถนะสูงเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ สามารถสร้างนวัตกรรมในการให้บริการ หน่วยงานมีผลสัมฤทธิ์ในการบริหาร และธรรมาภิบาล ประชาชนพึงพอใจต่อการบริหารจัดการบ้านเมือง

ตัวชี้วัดที่ 37  ร้อยละของบุคลากรที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ด้านการใช้โปรแกรมพื้นฐาน

          – Microsoft powerpoint

          – Microsoft Excel

ตัวชี้วัดที่ 38  จำนวนบุคลากรที่จำเป็นต้องใช้ Infographic ในการปฏิบัติงาน

ตัวชี้วัดที่ 39  ร้อยละของบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมตามเกณฑ์ (60 ชม./คน/ปี)

ตัวชี้วัดที่ 40  ร้อยละของบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะประโยชน์หรือกิจกรรมสาธารณกุศล (ไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง/คน/ปี)

ตัวชี้วัดที่ 41  ร้อยละของบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดโดยเทศบาลเมืองมหาสารคาม

ตัวชี้วัดที่ 42  ร้อยละค่าใช้จ่ายบุคลากรลดลงเป็น

ตัวชี้วัดที่ 43  จำนวนนวัตกรรมที่นำมาบริการประชาชนและบริหารจัดการที่นำมาใช้ได้จริงเพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัดที่ 44  ร้อยละของโครงการตามยุทธศาสตร์ที่สามารถบรรลุได้ตามเกณฑ์

ตัวชี้วัดที่ 45  จำนวนกลุ่มเป้าหมายภาคประชาชนรับรู้ข่าวสารเพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัดที่ 46  ร้อยละค่าคะแนนการประเมิน LPA

ตัวชี้วัดที่ 47  ระดับความสำเร็จการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล (DATA BASE) เพื่อใช้ในการบริหารและบริการ

ตัวชี้วัดที่ 48  ค่าคะแนนการประเมิน ITA ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

ตัวชี้วัดที่ 49  ระดับความสำเร็จในการเข้ารับการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี

ตัวชี้วัดที่ 50  ร้อยละของประชาชนพึงพอใจกับการบริหารบ้านเมือง

ตัวชี้วัดที่ 51  ร้อยละประชาชนที่ทำบัตรประจำตัวประชาชน อายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์จนถึงก่อนครบอายุ 15 ปี

ตัวชี้วัดที่ 52  จำนวนประชากรแฝงที่ย้ายเข้าทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม

ตัวชี้วัดที่ 53  ร้อยละของเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่ได้รับการแก้ไขตามเกณฑ์มาตรฐาน

          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7  พัฒนารายได้เทศบาลให้สามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น มีระบบบริหารจัดการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

          เป้าประสงค์ที่ 9   เทศบาลสามารถมีนวัตกรรมการจัดหารายได้ สามารถพึ่งตนเองด้านงบประมาณมากขึ้นการบริหารงบประมาณที่โปร่งใส

ตัวชี้วัดที่ 54  ร้อยละของรายได้ที่เทศบาลฯ จัดหาเองต่อรายได้ทั้งหมด

ตัวชี้วัดที่ 55  ร้อยละของการจัดหารายได้ใหม่ต่อรายได้ที่เทศบาลฯ จัดหาเอง

ตัวชี้วัดที่ 56  ร้อยละของการรับชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

ตัวชี้วัดที่ 57  ร้อยละของการจัดซื้อจัดจ้างที่วงเงินสูงกว่า 5 แสนบาทได้ต่ำกว่างบประมาณในทุกหมวดเงิน

ตัวชี้วัดที่ 58  ร้อยละของเงินหมวดลงทุนใช้จ่าย/เบิกจ่ายทันปีงบประมาณ