กุดนางใย (อักษรไทน้อย)

“กุดนางใย” เป็นชื่อของแหล่งน้ำธรรมชาติสำคัญของเมืองมหาสารคาม  ลักษณะเป็นแม่น้ำปลายด้วน  มีน้ำขังตลอดปี ภาษาถิ่นอีสานจึงเรียกแหล่งน้ำลักษณะดังกล่าวว่า กุด, ชาวเมืองมหาสารคามในอดีดได้อาศัยน้ำจากกุดนางใยใช้สอยต่างๆ เช่น รดผัก ยาสูบและพืชพันธุ์ต่างๆที่ปลูกตามริมกุดในทางประวัติศาสตร์ ชื่อกุดนางใยได้เป็นชื่อที่ขอตั้งเป็นเมืองมหาสารคาม  ในปี พ.ศ.๒๔๐๘ ต่อมาได้มีการสร้างสะพานข้ามขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ สมัยพระเจริญราชเดช (อุ่น) เจ้าเมืองมหาสารคามคนที่สาม และมีการศาลาพักริมทางแก่ผู้สัญจรไปมาด้วย  เล่ากันว่าในช่วงก่อนทศวรรษ ๒๔๘๐นั้น มีจระเข้อาศัยอยู่จำนวนมาก และมักชอบขึ้นมานอนเกยตามฝั่งตลิ่งของลำห้วยอาบแดดอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้ยังออกจะดุร้ายอีกด้วย