ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาล
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการศึกษาและนันทนาการ การศาสนา การอนุรักษ์และสืบสานศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การรักษาความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สิน และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี มีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์
1. เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้รับการศึกษาและเข้าถึงการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย อย่างเหมาะสม
2. ศาสนาวัฒนธรรม และนันทนาการได้รับการส่งเสริม สืบสาน และอนุรักษ์
3. เป็นเมืองที่มีปลอดภัยและน่าอยู่ ใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัด จัดการ สิ่งแวดล้อมเมืองอย่างเหมาะสม เป็นเมืองคาร์บอนต่ำ ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพียงพอพึ่งพาตนเองได้สามารถพัฒนาต่อยอดผลิตผลและรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีในอนาคต
4. ประชาชาชนมีสุขภาวะอนามัยที่ดี มีสุขภาพดี มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีการเตรียมความพร้อมในการเผชิญกับเหตุภัยพิบัติต่างๆ
5. ประชาชนและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมพัฒนา
6. การคมนาคมสะดวกรวดเร็ว มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ครอบคลุมและมีมาตรฐาน
7. มีความพร้อมในการให้บริการประชาชนและบริหารตามหลักธรรมาภิบาล
8. ประชาชนมีความพึงพอใจในการรับบริการงานเทศบาล
ตัวชี้วัด (KPI)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 1 การส่งเสริมการศึกษาและนันทนาการ การศาสนา การอนุรักษ์และสืบสานศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เป้าประสงค์รวม ประชาชนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มาตรฐานทั่วถึง สร้างโอกาสการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกัน มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งศาสนาวัฒนธรรม และนันทนาการได้รับการส่งเสริม อนุรักษ์ สืบสานประเพณี ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ |
1. ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการศึกษา สู่ความเป็นเลิศ | – สถานศึกษาผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกของ สมศ. และผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายในทุกมาตรฐาน ระดับดีมากทุกปีการศึกษา – ร้อยละของบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการเพิ่มพูนความรู้ – กิจกรรมการอ่านทุกช่วงวัย – ร้อยละของผู้เรียนมีความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ |
2. พัฒนาอาคารสถานที่ และแหล่งเรียนรู้ | – ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับการศึกษาที่ทันสมัยและได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ผ่านการปฏิบัติจริงในสภาพแวดล้อมจริง ฝึกทักษะในการคิด การสังเกต การทำงานเป็นกลุ่ม มีความรับผิดชอบ ผู้เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ของตนเองและเรียนรู้ตลอดชีวิต – จำนวนกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาอาคารสถานที่เป็นแหล่งเรียนรู้ การจัดหา จัดสร้าง พัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน |
3. ส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยี | – จำนวนกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ เด็ก เยาวชนและประชาชน ได้รับการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี – จำนวน เด็ก เยาวชน และประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี – ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้และเพิ่มพูนทักษะในด้านต่างๆ ได้ |
4. พัฒนาคุณภาพและทักษะชีวิต ตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | – ร้อยละ 80 ของนักเรียนได้เรียนรู้และปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง – ร้อยละของประชาชนได้รับการสนับสนุนการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะ |
5. อนุรักษ์และส่งเสริมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ดนตรี และกีฬา | – จำนวนกิจกรรมที่ส่งเสริมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ดนตรี และกีฬา – องค์กรชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 มีส่วนร่วมในการจัดงานประเพณีที่สำคัญ ดนตรี และกีฬา |
6. พัฒนาสังคมสอดรับกับการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมอาเซียนและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ | – จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ให้ความรู้การเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมอาเซียนอย่างน้อย 2 โครงการ/กิจกรรม/ปี – ร้อยละของโครงการ/กิจกรรมที่ให้ความรู้กับประชาชนด้านเศรษฐกิจ |
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 2 การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
เป้าประสงค์รวม ประชาชนมีสุขภาวะอนามัยที่ดี มีสุขภาพดี มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีการเตรียมความพร้อมเผชิญกับเหตุภัยพิบัติต่างๆ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ประชาชนพึ่งพาตนเองได้ สามารถพัฒนาต่อยอดผลิตผลและรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีในอนาคตได้
กลยุทธ์และตัวชี้วัด
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ |
1. พัฒนาส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิชาการด้านการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชกรรม | – จำนวนกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิชาการด้านการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชกรรม – ร้อยละของประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิชาการด้านการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชกรรม – ร้อยละของประชาชนที่ได้รับความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชกรรม |
2. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพื่อพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง | – จำนวนกิจกรรมส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพื่อพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง – ร้อยละของชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพื่อพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง |
3. การส่งเสริมอาชีพ นวัตกรรมสินค้า และเพิ่มพูนรายได้ | – ร้อยละของประชาชนที่เข้ารับการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มพูนรายได้ – จำนวนประชาชนมีอาชีพ ลดการว่างงาน – เกิดนวัตกรรมสินค้า |
4. ส่งเสริม สนับสนุนการดูแลหรืออนุรักษ์ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม | – จำนวนประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม ส่งเสริม สนับสนุนการดูแลหรืออนุรักษ์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม – ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนการดูแลหรืออนุรักษ์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ |
5. พัฒนา ส่งเสริม การจัดการขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล | – จำนวนโครงการ/กิจกรรม การพัฒนา ส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล – ร้อยละของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม กิจกรรม การพัฒนา ส่งเสริม การจัดการขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล |
6. ส่งเสริมสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก | – จำนวนกิจกรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก – ร้อยละของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง |
7. พัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณสุข และคุณภาพชีวิตอย่างทั่วถึงและอายุยืนยาว | – ร้อยละของประชากรที่มีการเจ็บป่วยได้รับการดูแลรักษา การเจ็บป่วยลดลง – ร้อยละ 80 ของประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรอง – ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยติดเตียงในเขตเทศบาลได้รับการเยี่ยมและรักษา – ร้อยละ 80 ของ อสม. ในเขตเทศบาล ได้รับการอบรมและพัฒนาด้านสาธารณสุข – จำนวนประชาชนที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรค – จำนวนกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพของประชาชน – อายุเฉลี่ย 70 ปี ของคนมีสุขภาพดีในเขตเมือง |
8. จัดสวัสดิการสังคมและการสงเคราะห์ | – จำนวนกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมและการสงเคราะห์ – ร้อยละของประชาชนที่ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมและการสงเคราะห์ |
9. การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดการเอื้ออาทร สมานฉันท์ | – จำนวนกิจกรรมเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และการป้องกัน แก้ไขปัญหายาเสพติด การเอื้ออาทร สมานฉันท์ – ร้อยละของประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และการป้องกัน แก้ไขปัญหายาเสพติด การเอื้ออาทร สมานฉันท์ – ร้อยละของจำนวนครอบครัวที่มีความเข้มแข็งและห่างไกลยาเสพติด การเอื้ออาทร สมานฉันท์ |
10. การเตรียมความพร้อมในการเผชิญกับเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ | – จำนวนกิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย – ร้อยละของประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย – เทศบาลมีอาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ของจำนวนประชากร |
11. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือเครือข่ายภาครัฐ เอกชนหรือประชาสังคม | – ร้อยละ 80 ของกรรมการชุมชนทำกิจกรรมส่วนรวมร่วมกัน – จำนวนโครงการ ที่มีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองเพิ่มขึ้นปีละ 10 โครงการ |
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 3 การพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน
เป้าประสงค์รวม การคมนาคมสะดวกรวดเร็ว มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ครอบคลุม
และมีมาตรฐาน
กลยุทธ์และตัวชี้วัด
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ |
1. พัฒนาปรับปรุงสาธารณูปโภค และสาธารณูปการมีประสิทธิภาพ | – การบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานผ่านเกณฑ์การบริการสาธารณะ – ร้อยละ 60 การสาธารณูปโภคของเมือง ได้แก่ ถนน ไฟฟ้า ประปา การระบายน้ำ การกำจัดขยะการสื่อสาร ฯลฯ มีความเป็นระเบียบได้รับการปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน – สวนสาธารณะจำนวน 7 แห่งได้รับการปรับปรุงการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น – สถานที่พักผ่อน สถานที่ออกกำลังกาย ได้รับการปรับปรุงและมีวัสดุอุปกรณ์ในการออกกำลังกาย |
2. การปรับปรุงการจัดทำผังเมืองและการควบคุมอาคาร | – เทศบาลมีพื้นที่ขอบเขตของเมืองที่ชัดเจนใช้เป็นกรอบในการวางแผนทางกายภาพของเมือง – ทราบถึงการใช้ประโยชน์ของที่ดินและการขยายตัวของเมือง – ควบคุมตรวจสอบการปลูกสร้างอาคารเป็นไปตามรูปแบบรายการ ร้อยละ 100 – ตรวจสอบการใช้อาคารเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ร้อยละ 100 |
3. ก่อสร้าง บุกเบิก ปรับปรุง บำรุงทาง คมนาคม สะพาน เขื่อนระบบระบายน้ำ แหล่งน้ำอุปโภค บริโภค และการบำบัด น้ำเสีย | – การจัดระบบป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมือง การจัดการพื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่ชะลอน้ำ รวมทั้งการบรรเทาอุทกภัยในเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบ ลดความเสี่ยงและความรุนแรงลงไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 – ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความพึงพอใจการจัดระบบป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมือง การจัดการพื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่ชะลอน้ำ รวมทั้งการบรรเทาอุทกภัยในเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบ – ถนนจุดที่มีปัญหาได้รับการระบายน้ำภายใน 3 ชั่วโมง – จำนวนโครงการปรับปรุงพื้นผิวจราจร รวมถึงการพัฒนาเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทางให้กับประชาชน – จำนวนป้ายบอกเส้นทางได้รับการปรับปรุงและมองเห็นชัดเจน – ติดตั้ง สัญญาณไฟจราจรในจุดที่จำเป็น ร้อยละ 90 – ถนนทุกสายต้องไม่มีขยะตกค้างเกิน 2 วัน – สถานีขนผู้โดยสาร ได้รับการปรับปรุง และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่อประชาชนผู้มาใช้บริการ – ประชาชนร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในการพัฒนาระบบการคมนาคม การจราจรให้เหมาะสมกับเมือง – จำนวนอุบัติเหตุทางถนนลดลง – ร้อยละ 80 ของประชาชนมีส่วนร่วมในการวางระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน การนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ ป้องกันและลดการเกิดน้ำเสียต้นทางการควบคุมปริมาณการไหลของน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ พร้อมทั้งพื้นฟูแม่น้ำ ลำคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสำคัญในทุกมิติ เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม |
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 4 การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี มีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์รวม เทศบาลมีความพร้อมในการให้บริการประชาชนและบริหาร
ตามหลักธรรมาภิบาล ประชาชนมีความพึงพอใจในการรับบริการงานเทศบาล
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ |
1. สร้างระบบบริหารงานให้มีความทันสมัยมีความคล่องตัว มีความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ในการใช้ทรัพยากรเพื่อจัดบริการสาธารณะ | – ผลคะแนนการประเมินประสิทธิภาพของ อปท. ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 – สร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชน ผู้รับบริการหรือตอบสนองความ ต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริงร้อยละ 80 |
2. พัฒนาอาคารสถานที่และเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนสภาพแวดล้อมภายในสถานที่ปฏิบัติงาน | – ร้อยละ 80 ของอาคารสถานที่ปฏิบัติงานมีความปลอดภัย สะดวกสบายและเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานและบริการประชาชน บุคลากร/ประชาชนมีความพึงพอใจ – ร้อยละ 80 ของจำนวนอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานเพียงพอและทันสมัย บุคลากร/ประชาชน มีความพึงพอใจต่อเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน |
3. พัฒนาองค์กรและบุคลากร ระบบการบริการประชาชนตาม หลักธรรมาภิบาล | – ร้อยละ 80 ของจำนวนบุคลากรผ่านการศึกษา การอบรม การจัดศึกษาดูงาน |
กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการศึกษาและนันทนาการ การศาสนา การอนุรักษ์และสืบสานศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาอาคารสถานที่ และแหล่งเรียนรู้
กลยุทธที่ 3 ส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยี
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาคุณภาพและทักษะชีวิต ตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ 5 อนุรักษ์และส่งเสริมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ดนตรีและกีฬา
กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาสังคมสอดรับกับการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมอาเซียน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การรักษาความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สิน และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิชาการด้านการเกษตรกรรม อุตสาหกรรมพาณิชกรรม
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพื่อพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ 3 การส่งเสริมอาชีพและเพิ่มพูนรายได้
กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริม สนับสนุนการดูแลหรืออนุรักษ์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนา ส่งเสริม การจัดการขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล
กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสริมสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก
กลยุทธ์ที่ 7 พัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณสุข และคุณภาพชีวิตอย่างทั่วถึงและอายุยืนยาว
กลยุทธ์ที่ 8 จัดสวัสดิการสังคมและการสงเคราะห์
กลยุทธ์ที่ 9 การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด การเอื้ออาทร สมานฉันท์
กลยุทธ์ที่ 10 การเตรียมความพร้อมในการเผชิญกับเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ
กลยุทธ์ที่ 11 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือเครือข่ายภาครัฐเอกชน หรือประชาสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาปรับปรุงสาธารณูปโภคและสาธารณูปการมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ที่ 2 การปรับปรุงการจัดทำผังเมืองและการควบคุมอาคาร
กลยุทธ์ที่ 3 ก่อสร้าง บุกเบิก ปรับปรุง บำรุงทาง คมนาคม สะพาน เขื่อนระบบ ระบายน้ำ แหล่งน้ำอุปโภคบริโภค และการบำบัดน้ำเสีย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี มีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ที่ 1 สร้างระบบบริหารงานให้มีความทันสมัย มีความคล่องตัว มีความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ในการใช้ทรัพยากรเพื่อจัดบริการสาธารณะ
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาอาคารสถานที่และเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนสภาพแวดล้อม ภายในสถานที่ปฏิบัติงาน
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาองค์กรและบุคลากร ระบบการบริการประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล
จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning)
จุดยืนทางยุทธศาสตร์ หรือ ตำแหน่งการพัฒนาของเทศบาลเมืองมหาสารคามตามแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) ซึ่งได้มีการประชาคมท้องถิ่นระดับเมือง เมื่อวันที่ 7-8 กันยายน 2564 และได้กำหนดจุดเน้นหรือจุดยืนทางยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) ดังนี้
จุดยืนทางยุทธศาสตร์ของเทศบาลเมืองมหาสารคาม
-
วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ที่แสดงถึงองค์กรที่มีคุณภาพ สำหรับใช้เป็นกรอบ ในการดำเนินงานขององค์กร ครบทุกมิติ
-
การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้ง ในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข