ประวัติเทศบาล

ประวัติเทศบาล

      ท้องถิ่นเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลเมืองมหาสารคาม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 มีคณะเทศมนตรีชุดแรกเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2480 ในการจัดตั้งเทศบาลเมืองมหาสารคามในช่วงแรกๆ ปรากฏว่ายังมีผู้ให้ความสนใจน้อยในการที่จะบริหารเทศบาล แต่ระยะต่อมาจึงได้เริ่มแข่งขันกันมากขึ้น ก่อนที่ นายบุญช่วย อัตถากร จะดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนั้น ได้ประกอบธุรกิจร้านขายหนังสือ ต่อมาได้ขยายกิจการกว้างขวางขึ้นจนกลายเป็นร้านสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในเมืองมหาสารคามภายใต้ชื่อ “ห้างธรรมอุดมพาณิชย์” นายบุญช่วย อัตถากร ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีเป็นระยะๆ หลังจากนั้นได้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีอีกหลายวาระ จนถึงช่วงสุดท้ายคือ พ.ศ. 2477 – 2511 รวมเป็นเวลา 22 ปี สำนักงานเทศบาลเมืองมหาสารคาม ระยะเริ่มแรกได้อาศัยสถานที่สโมสรเสือป่า เป็นที่ทำการของสำนักงานเทศบาลเมืองมหาสารคาม จนถึง พ.ศ. 2483 จึงย้ายไปอยู่สุขศาลา อำเภอเมืองมหาสารคาม เป็นเวลา 5 ปีเศษ แล้วย้ายสำนักงานมาชั้นบนตึกแถว 2 ชั้น (ปัจจุบันคือบริเวณตลาดสด) จนถึง พ.ศ. 2501 จึงย้ายมาอยู่อาคารหลังใหม่ และต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้ย้ายสำนักงานไปสร้างในที่ดินซึ่งมีผู้อุทิศให้ จำนวน 10 ไร่ เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น ดังในปัจจุบัน

ทำเนียบนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม

จากอดีต– ปัจจุบัน

รายนามนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม

 

ลำดับรายนามนายกเทศมนตรีช่วงดำรงตำแหน่ง
1นายบุญช่วย อัตถากร๓ เม.ย ๒๔๘๐ – ๒๕ ส.ค. ๒๔๘๐
2นายสิงโต พรหมแสนวิเศษ๒๕ ส.ค. ๒๔๘๐ – ๔ เม.ย. ๒๔๘๑
3นายตู้ สารมาคม๕ เม.ย. ๒๔๘๑ – ๗ เม.ย. ๒๔๘๑
4นายฮวด ทองโรจน์๘ เม.ย. ๒๔๘๑ - ๑๖ พ.ย. ๒๔๘๑
5นายตู้ สารมาคม๑๗ พ.ย. ๒๔๘๑ – ๒๓ เม.ย.๒๔๘๓
6นายฮวด ทองโรจน์๒๔ เม.ย. ๒๔๘๓ – ๙ ธ.ค. ๒๔๘๔
7นายบุญช่วย อัตถากร๒๐ ม.ค. ๒๔๘๕ – พ.ค.๒๔๘๕
8นายบุญช่วย อัตถากรพ.ค. ๒๔๘๕ – ๑๕ เม.ย. ๒๔๙๒
9หลวงบริหารชนบท๑๖ เม.ย. ๒๔๙๒ – ๒๐ ส.ค. ๒๔๙๒
10นายชม วัลลิภากร (ปลัดจังหวัด)๒๑ ส.ค. ๒๔๙๒ – ๒๐ ส.ค. ๒๔๙๓
11นายแปลก เรืองสุวรรณ๒๑ ส.ค. ๒๔๙๓ – ๖ ก.ย. ๒๔๙๔
12นายมนูญ ศรีสารคาม๗ ก.ย. ๒๔๙๔ – ๙ มิ.ย ๒๔๙๖
13นายนาถ เงินทาม๑๐ มิ.ย. ๒๔๙๖ – ๓๐ เม.ย. ๒๔๙๗
14นายจรัญ ณ สงขลา (ปลัดจังหวัด)๑ พ.ค ๒๔๙๗ – ๑๑ มิ.ย ๒๔๙๗
15นายบุญช่วย อัตถากร๑๒ มิ.ย ๒๔๙๗ – ๓ มิ.ย. ๒๔๙๘
16นายส่ง สุภโตษะ (ปลัดจังหวัด)๒ ก.พ. ๒๔๙๙ – ๒๐ ก.พ. ๒๔๙๙
17นายเกตุ วงศ์กาไสย๒๑ ก.พ. ๒๔๙๙ – ๒๘ ส.ค. ๒๔๙๙
18นายส่ง สุภโตษะ (ปลัดจังหวัด)๒๙ ส.ค. ๒๔๙๙ – ๑๐ ต.ค. ๒๔๙๙
19นายบุญช่วย อัตถากร๑๑ ต.ค. ๒๔๙๙ – ๑๖ เม.ย. ๒๕๐๓
20นายบุญช่วย อัตถากร๑๗ เม.ย. ๒๕๐๓ – ๑๕ มิ.ย. ๒๕๐๘
21นายบุญช่วย อัตถากร๑๖ มิ.ย. ๒๕๐๘ – ๔ ก.พ ๒๕๑๑
22นายเกตุ วงศ์กาไสย๒๖ ก.พ. ๒๕๑๑ – ๒ ม.ค. ๒๕๑๓
23นายสงวน เพชรวิเศษ๕ ม.ค ๒๕๑๓ – ๑ เม.ย ๒๕๑๓
24นายเกียรติ นาคะพงษ์๔ พ.ค ๒๕๑๓ – ๑ เม.ย. ๒๕๑๕
25นายอายุทธ ฝ่ายคุณวงศ์๒๖ ธ.ค. ๒๕๑๓ – ๖ ส.ค. ๒๕๑๗
26นายอรรถ วุฒิชัย๘ ส.ค. ๒๕๑๗ – ๔ พ.ย. ๒๕๑๗
27นายมนูญ ศรีสารคาม๒๕๑๗ – ๑๗ ธ.ค. ๒๕๑๗
28นายเกียรติ นาคะพงษ์๑๘ ธ.ค. ๒๕๑๗ – ๙ มิ.ย. ๒๕๒๓
29นายเกียรติ นาคะพงษ์๑๐ มิ.ย. ๒๕๒๓ – ๑๔ ส.ค. ๒๕๒๘
30นายประพิส ทองโรจน์๑๕ ส.ค. ๒๕๒๘ – ๒๕ ธ.ค. ๒๕๓๐
31นายสุวิน ตาลรักษา๒๖ ธ.ค ๒๕๓๐ – ๑๗ เม.ย. ๒๕๓๓
32นายทองใบ วรเชษฐา (ปลัดจังหวัด)๑๘ เม.ย. ๒๕๓๓ – ๑๐ ก.ค. ๒๕๓๓
33ายสุรศักดิ์ วงศ์มังกร๑๑ ก.ค. ๒๕๓๓ – ๘ ต.ค ๒๕๓๓
34นายจีระศักดิ์ คณาสวัสดิ์๙ ต.ค. ๒๕๓๓ – ๑๙ พ.ย. ๒๕๓­๘
35นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล๒๐ พ.ย. ๒๕๓๘ – ๙ มี.ค. ๒๕๔๑
36นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล๑๐ มี.ค. ๒๕๔๑ – ๔ มี.ค ๒๕๔๓
37นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล๖ มี.ค. ๒๕๔๓ – ๑ ส.ค. ๒๕๔๔
38นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล๒๓ ส.ค. ๒๕๔๔ – ๙ ส.ค ๒๕๔๕
39นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล๑๐ ส.ค. ๒๕๔๕ – ๒๔ ธ.ค. ๒๕๔๖
40นายวิสุทธิ์ เจริญศรี (ปลัดเทศบาลรักษาการ)๒๕ ธ.ค. ๒๕๔๖ – ๑๔ มิ.ย. ๒๕๔๗
41นายฐิติรัตน์ ประสพสันต์วัฒนา๑๕ มิ.ย. ๒๕๔๗ – ๒๒ พ.ค ๒๕๕๑
42นายวิสุทธิ์ เจริญศรี (ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่)๒๓ พ.ค. ๒๕๕๑ – ๒๙ ก.ค. ๒๕๕๑
43นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์๓๐ มิ.ย. ๒๕๕๑ – ๒๘ มิ.ย. ๒๕๕๔
44นายวิสุทธิ์ เจริญศรี (ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่)๒๙ มิ.ย. ๒๕๕๔ – ๕ ส.ค. ๒๕๕๕
45นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์๑๑ ส.ค. ๒๕๕๕ – ๒๕๖๒
46นายสายยันต์ ภิรมย์กิจ (ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่)
47นายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์๒๕๖๔ - ปัจจุบัน

สภาพกายภาพเมืองมหาสารคาม

สภาพภูมิศาสตร์

     ลักษณะภูมิประเทศของเมืองมหาสารคามเป็นพื้นที่ราบสูงรูปกระทะคว่ำ โดยชุมชนเมืองจะเกาะตัวยาวตามถนนนครสวรรค์ในแนวทิศตะวันออก ไปด้านตะวันตกมีลักษณะเป็นเนินลาด และที่ราบลุ่มมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 130 -230 เมตร มีศูนย์กลางของเนินอยู่บริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ซึ่งเป็นเนินสูงสุดของพื้นที่ มีลำห้วยคะคางไหลผ่านตัวเมืองด้านตะวันตกไหลลงแม่น้ำชี และแก่งเลิงจาน ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มบริเวณตะวันตกของเมือง และบริเวณด้านใต้ของชุมชนมีคลองสมถวิลไหลผ่าน จากลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดแอ่งน้ำ และที่ลุ่มเป็นห้วง ๆ ตามแนวลำห้วย ทำให้พื้นที่โดยรอบเมืองเกิดเป็นพื้นที่ลุ่ม

ที่ตั้ง และขนาด

     ตั้งอยู่เลขที่ 27 ถนนผังเมืองบัญชา ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000 เทศบาลเมืองมหาสารคาม ตั้งอยู่ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 24.14 ตารางกิโลเมตร หรือ 15,857.50 ไร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 475 กิโลเมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 130 – 230 เมตร มีลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย สภาพเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท ประชาชนยังมีความยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือติดต่อกันมา และมีการแบ่งชุมชนย่อยในเขตเทศบาลออกเป็น 30 ชุมชน หรือเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “คุ้ม” มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรบริหารส่วนตำบล ต่าง ๆ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกิ้ง

  • ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลแวงน่าง

  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา

  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอน

การใช้ประโยชน์ที่ดิน

การใช้ประโยชน์ที่ดินในเมืองมหาสารคามมีลักษณะผสมผสานกันตามวิถีชีวิตของคนไทยในชุมชนจำแนกได้ดังต่อไปนี้

  • ย่านพาณิชยกรรมหลักของเมือง ได้แก่ พื้นที่สองฟากถนนนครสวรรค์ ถนนผดุงวิถี และถนนวรบุตร

  • ย่านสถานที่ราชการ และสถานที่ศึกษา มี 2 บริเวณ ถนนนครสวรรค์ คือศูนย์ราชการหลักซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดเดิม และสถานที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นสถานศึกษาในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เช่น โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม โรงเรียนสารคามพิทยาคม เป็นต้น บริเวณที่สองระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 208 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213 เป็นที่ตั้งของแขวงการทางจังหวัดมหาสารคาม สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เดิมคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒมหาสารคาม) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (เดิมคือวิทยาลัยครูมหาสารคาม

สถาปัตยกรรม

สภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพของเมืองมีรูปแบบสถาปัตยกรรมทั่วไป และบางส่วนเป็นอาคารสถาปัตยกรรมทั้งรูปแบบเก่า และรูปแบบสมัยใหม่ ทั้งบ้านพักอาศัย อาคารการค้า และพาณิชยกรรม อาคารทางราชการ วัด และโรงเรียน เป็นต้น

  1. อาคารทางศาสนา /วัฒนธรรม

  2. อาคารพักอาศัยกึ่งค้าขายชั้นเดียว (ตึกดิน)

  3. อาคารที่พักอาศัยกึ่งการค้าขาย 2 ชั้น (ตึกไม้)

  4. อาคารพักอาศัยกึ่งค้าขาย 2-4 ชั้นปูน

  5. อาคารการค้า 3 ชั้นปูน

  6. อาคารราชการ

ตลาดสด

มีตลาดสด 1 แห่ง ดำเนินการโดยเทศบาลเมืองมหาสารคาม ซึ่งปัจจุบันยังสามารถรับการเจริญเติบโตของเมืองได้อย่างดี

ที่จอดรถโดยสาร

มีสถานีผู้โดยสาร 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณริมคลองสมถวิล ข้างห้างสรรพสินค้าเสริมไทยพลาซ่าให้บริการชนส่งผู้โดยสารระหว่างอำเภอ และจังหวัดต่าง ๆ ในหลายภูมิภาค รวมทั้งกรุงเทพมหานคร

เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม

     เศรษฐกิจชุมชน เป็นชุมชนเมืองที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดทีมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้ชุมชนเมืองมหาสารคาม มรกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สามารถให้บริการทั้งในระดับเมือง และระดับจังหวัด ขยายตัวด้งกล่าวเป็นผลมาจากการผลิตทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น โดยสาขาการค้าส่งและค้าปลีก การผลิตสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 23.49 ต่อปี รองคือ สาขาการเกษตรกรรม และการศึกษา มีมูลค่าการผลิตคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.19 และ 15.19 รวมมีสถานประกอบกิจการค้าเพื่อการพาณิชย์ จำนวน 3,792 แห่ง ประเภทบริการห้องพักและห้องเช่า จำนวน 1,661 แห่ง มีสถานประกอบอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ จำนวน 286 แห่ง

     ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่เมืองมหาสารคามยังคงมีอาชีพหลัก การทำนาโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลักอาชีพค้าขายและการรับราชการเป็นอาชีพรองลงมา กระนั้นก็ตามอัตราการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เกษตรกรรมในเมืองซึ่งมีอัตราการลดลงเรื่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปเป็นพื้นที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับกิจกรรมทางการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หอพัก และอาคารพาณิชยกรรม

     วัฒนธรรมและประเพณี เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ นับถือพุทธศาสนา และส่วนใหญ่เป็นชาวอีสานดั้งเดิม ลักษณะวิถีชีวิตเป็นผู้ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี โอบอ้อมอารี

วัฒนธรรม และประเพณี

     การจัดงานประเพณีที่เทศบาลได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำทุกปีโดยมีประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญดังนี้

  1. งานวันขึ้นปีใหม่

  2. งานบุญเบิกฟ้าและกาชาด

  3. งานประเพณีสงกรานต์

  4. งานประเพณีบุญบั้งไฟ

  5. งานแห่เทียนเข้าพรรษา

  6. งานประเพณีลอยกระทง

ลักษณะของแหล่งน้ำ

  • แหล่งน้ำ

หนอง บึง จำนวน 7 แห่ง ได้แก่

  1. หนองบัวแดง (12 ไร่) คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 28,800 ลบ.ม.

  2. หนองอีเก้ง (11 ไร่) คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 52,800 ลบ.ม.

  3. หนองบอน (7 ไร่) คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 22,400 ลบ.ม.

  4. หนองบักกิ้ง (3 ไร่) คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 3,800 ลบ.ม.

  5. หนองกระทุ่ม (60 ไร่) คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 192,000 ลบ.ม.

  6. หนองหอย (5 ไร่) คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 8,000 ลบ.ม.

  7. หนองเลิงน้ำจั้น (33 ไร่ 15 งาน 98.82 ตารางวา) คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 28,800 ลบ.ม.

คลอง ลำธาร ห้วย จำนวน 3 แห่ง ได้แก่

  1. คลองสมถวิล

  2. ลำห้วยคะคาง

  3. ลำรางกุดนางใย

ลักษณะของไม้และป่าไม้

เทศบาลมีป่าไม้ในสวนสาธารณะ ดังนี้

  • สวนสาธารณะเลิงน้ำจั่น มีพื้นที่ 33.16 ไร่

  • สวนสาธารณะศรีสวัสดิ์ มีพื้นที่ 9.3 ไร่

  • สวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ มีพื้นที่ 12.49 ไร่

  • สวนสาธารณะหนองข่า มีพื้นที่ 41 ไร่

ด้านการเมือง/ การปกครอง

เขตการปกครอง

องค์กรเทศบาล เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ประกอบด้วยสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในท้องถิ่น โดยสภาเทศบาลเมืองมหาสารคามทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติมีจำนวน 18 คน และมีนายกเทศมนตรีเป็นฝ่ายบริหาร

  •  สภาเทศบาล สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอยู่ในตำแหน่งวาระละ 4 ปี มีจำนวน 18 คน มีประธานสภา 1 คน และรองประธานสภา 1 คน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล

  •  คณะผู้บริหาร ประกอบด้วย นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และรองนายกเทศมนตรี จำนวน 3 คน ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี จำนวน 1 คน และเลขานุการนายกเทศมนตรี จำนวน 2 คน ซึ่งมาจากนายกเทศมนตรีแต่งตั้ง

เขตการเลือกตั้ง

เทศบาลเมืองมหาสารคามแบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น 3 เขต มีจำนวนชุมชนทั้งสิ้น 31 ชุมชน ดังนี้

ตาราง : แสดงเขตการเลือกตั้งของชุมชนทั้ง 31 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม

เขต 1เขต 2เขต 3
ชุมชนตักสิลา 1ชุมชนธัญญา 1ชุมชนเครือวัลย์ 1
ชุมชนตักสิลา 2ชุมชนธัญญา 2ชุมชนนาควิชัย 2
ชุมชนศรีสวัสดิ์ 1ชุมชนธัญญา 3ชุมชนนาควิชัย 3
ชุมชนศรีสวัสดิ์ 2ชุมชนสามัคคี 1ชุมชนอภิสิทธิ์ 1
ชุมชนศรีสวัสดิ์ 3ชุมชนสามัคคี 2ชุมชนอภิสิทธิ์ 2
ชุมชนปัจฉิมทัศน์ 1ชุมชนมหาชัยชุมชนอุทัยทิศ 1
ชุมชนปัจฉิมทัศน์ 2ชุมชนโพธิ์ศรี 1ชุมชนอุทัยทิศ 2
ชุมชนธัญญา 4ชุมชนโพธิ์ศรี 2ชุมชนอุทัยทิศ 3
ชุมชนศรีมหาสารคามชุมชนนาควิชัย 1ชุมชนอุทัยทิศ 4
ชุมชนเครือวัลย์ 2ชุมชนส่องเหนือ
ชุมชนส่องใต้
ชุมชนบ้านแมด

ประชากร

ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

เทศบาลเมืองมหาสารคาม มีจำนวนประชากร คน (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2565) แยกตามอายุประชากรได้ดังนี้

ปี พ.ศ.ชายหญิงรวม
256321,64028,17649,780
256421,06227,05148,113
256520,15725,72445,881

(ที่มา : กองทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2565)

ตารางที่ 2 : แสดงสถิติจำนวนประชากร ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยแยกรายละเอียด

จำนวนประชากรแยกตามชุมชน

รายการปีงบประมาณ 2563ปีงบประมาณ 2564ปีงบประมาณ 2565
ประชากรทั้งหมดตามทะเบียนราษฎร์49,78048,11345,881
แบ่งตามเพศ
- ชาย21,60421,06220,157
- หญิง28,17627,05125,724
แบ่งตามช่วงอายุ
0 - 3 ปี1,2391,239864
4 - 6 ปี1,0401,027967
7 -10 ปี1,5791,5751,542
11 - 13 ปี1,3171,3031,219
14 - 16 ปี1,3641,3661,321
17 - 20 ปี7,1005,8404,176
21 - 30 ปี12,45812,07211,788
31 - 40 ปี5,1075,0454,883
41 - 50 ปี5,7215,6695,446
51 - 60 ปี5,6595,6515,605
60 ปีขึ้นไป7,1967,3267,767

(ที่มา : กองทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2565)

ข้อมูลพื้นฐานด้านประชากร ในปีงบประมาณ 2565

สภาพทางสังคม

ด้านการศึกษา

เทศบาลเมืองมหาสารคาม เป็นศูนย์กลางการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมือง “ตักสิลานคร” เนื่องจากเป็นที่รวมของสถานศึกษาในระบบโรงเรียนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา เป็นจังหวัดที่มีสถานศึกษาเกือบทุกสังกัดกระจายอยู่ในจังหวัด โดยในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม สามารถจำแนกตามระบบการศึกษาและสังกัด ได้ดังนี้

  • สถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย

          (1) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

          (2) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

  • สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย

          (1) วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม

          (2) วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม

  • สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 จำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย

          (1) โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม

          (2) เรียนอนุบาลมหาสารคาม

  • สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม เขต 26  จำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย

           (1) โรงเรียนสารคามพิทยาคม

           (2) โรงเรียนผดุงนารี

  • สถานศึกษาสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

           (1) สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม

  • สถานศึกษาสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

           (1) วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

  • สถานศึกษาอื่นๆ ประกอบด้วย

           (1) โรงเรียนอนุบาลกิตติยา (เอกชน)

           (2) โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม (เอกชน)

           (3) โรงเรียนอนุบาลสกุลรัตน์ (เอกชน)

           (4) โรงเรียนอภิสิทธิ์ปัญญา (เอกชน)

  • สถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาล

เมืองมหาสารคาม จำนวน 7 แห่ง ประกอบด้วย

                    (1) โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร

                    (2) โรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา

                    (3) โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย

                    (4) โรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ

                    (5) โรงเรียนเทศบาลสามัคคีวิทยา

                    (6) โรงเรียนเทศบาลโพธิ์ศรี

                    (7) โรงเรียนเทศบาลบ้านแมด

โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้ทำการเปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล  ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีครูที่เป็นพนักงานเทศบาลฯ จำนวน 164 คน เป็นชาย  จำนวน  37  คน  หญิง  จำนวน  127  คน  และมีนักเรียนจำนวน  2,969  คน  ดังนี้

  • ก่อนวัยเรียน จำนวน  54  คน

  • นักเรียนระดับอนุบาล จำนวน  622   คน

  • นักเรียนชั้นประถมศึกษา จำนวน  1,425  คน

  • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย จำนวน 868  คน

โรงเรียนที่เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษา  ได้แก่

           1) โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร  (เปิดมัธยมศึกษาตอนต้น – ตอนปลาย)

           2) โรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา    (เปิดมัธยมศึกษาตอนต้น)

           3) โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย   (เปิดมัธยมศึกษาตอนต้น)

           4) โรงเรียนเทศบาลสามัคคีวิทยา      (เปิดมัธยมศึกษาตอนต้น)

           5) โรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ            (เปิดมัธยมศึกษาตอนต้น)

(ที่มา : กองการศึกษา ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2565)

(ที่มา : กองการศึกษา ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2565)

ด้านสาธารณสุข

  • โรงพยาบาลในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม จำนวน 3 แห่ง ได้แก่

          (1) โรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 1 แห่ง เตียงคนไข้ จำนวน 472 เตียง

ที่ตั้ง : 1105 ถนนผดุงวิถี ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000 โทรศัพท์ : 0-4371-1289 , 0-4371-1463 , 0-4374-0993 – 6 โทรสาร : 0-4371-1433

          (2) โรงพยาบาลสุทราเวช คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 1 แห่ง

เตียงคนไข้ จำนวน 472 เตียง ที่ตั้ง : ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000

โทรศัพท์ : 0-4371-1289 , 0-4371-1463 , 0-4374-0993 – 6 โทรสาร : 0-4371-1433

          (3) โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง เตียงคนไข้ จำนวน 50 เตียง

ที่ตั้ง : โรงพยาบาลมหาสารคาม อินเตอร์เนชันแนล ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000 โทรศัพท์ : 0-4372-1770 , 0-4372-3669

  • ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 5 แห่ง ได้แก่

  1. ศูนย์บริการสาธารณสุข (ศูนย์บูรพา) สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม

  2. ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสามัคคี สังกัด โรงพยาบาลมหาสารคาม

  3. ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองอุทัยทิศ สังกัด โรงพยาบาลมหาสารคาม

  4. ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองราชภัฏศรีสวัสดิ์ สังกัดโรงพยาบาลมหาสารคาม

  5. ศูนย์บริการทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสาคาม

  • คลินิกเอกชน จำนวน 54 แห่ง ได้แก่

  1. คลินิกเวชกรรม จำนวน 41 แห่ง

  2. คลินิกทันตกรรม จำนวน 4 แห่ง

  3. คลินิกผดุงครรภ์ จำนวน 4 แห่ง

  4. คลินิกแพทย์แผนไทย จำนวน 3 แห่ง

  5. คลินิกแล็ป จำนวน 1 แห่ง

  • ผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ (จำนวนต่อปี) ปี 2556 จำนวน 187,299 คน

แยกเป็น

  • ผู้ป่วยใน 47,258 คน

  • ผู้ป่วยนอก 140,041 คนสาเหตุการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่ง

  • โรคระบบทางเดินหายใจ จำนวน 301,947 ราย/ปี

  • โรคระบบย่อยอาหาร จำนวน 188,861 ราย/ปี

  • โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตาบอลิซึม จำนวน 145,458 ราย/ปี

  • ประเภทการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุข

  • โรคระบบทางเดินหายใจ

  • โรคติดต่อเชื้อ และปรสิต

  • โรคระบบย่อยอาหาร

  • โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตาบอลิซึม

  • อาการการผิดปกติที่พบได้ด้วยการตรวจทางคลินิกและห้องปฏิบัติการ

บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม

(ศูนย์บริการทางแพทย์บูรพา)

  • พยาบาล จำนวน 5 คน

  • ทันตแพทย์ สัปดาห์ละ 1 คน / ครั้ง

  • นักวิชาการสุขาภิบาล จำนวน 2 คน

  • อสม. จำนวน 265 คนชมรมต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นในเขตเทศบาล จำนวน 8 ชมรม ได้แก่

                      (1) ชมรมแต่งผม–เสริมสวย เทศบาลเมืองมหาสารคาม

                      (2) ชมรมตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคาม

                      (3) ชมรมตลาดโต้รุ่งเทศบาลเมืองมหาสารคาม

                      (4) ชมรมร้านอาหาร

                      (5) ชมรม อสม.

                      (6) ชมรมออกกำลังกาย

                      (7) ชมรมผู้สูงอายุ

                      (8) ชมรมคนพิการ

                      (9) ชมรมตลาดห้าแยก

แนวโน้มและทิศทางการเติบโตของเมืองมหาสารคาม

     บริเวณที่มีการขยายตัวของชุมชนได้แก่ บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่ด้านใต้ซึ่งเป็นที่ราบระดับไม่ต่ำมากนัก เหมาะสำหรับการพัฒนาทางด้านที่อยู่อาศัย บริเวณด้านตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่เนินสูงน้ำไม่ท่วมถึงเป็นลักษณะชุมชนเดิมเกิดขึ้น โดยบริเวณดังกล่าว ในการเข้าถึงสูงถนนเชื่อระหว่างชุมชนเมืองกับพื้นที่เมือง และจังหวัดอื่น ๆ เช่น ถนนไปอำเภอโกสุมพิสัย อำเภอบรบือ อำเภอวาปีปทุม อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด และถนนรอบเมือง และทิศเหนือ ทิศตะวันตกมีปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวของชุมชน คือ สถานบันการศึกษา ต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วิทยาลัยพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ชัดเจนความต้องการในด้านที่อยู่อาศัย เพื่อรองรับพื้นที่ดังกล่าว