หอนาฬิกา

ด้วยลักษณะสถาปัยตกรรมสวยงามคล้ายพระธาตุ จึงมีหลายคนเรียกว่า พระธาตุเวลากลางเมือง นอกจากทำหน้าที่บอกเวลาแล้ว อีกความเชื่อคือการทำนายความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง หมายถึงหากนาฬิกาเดินตรงเวลาก็จะสะท้อนถึงความตั้งใจในการทำหน้าที่ของคณะผู้บริหารเทศบาล ที่สำคัญที่ตั้งของหอนาฬิกา ตั้งอยู่ใจกลางเมืองมหาสารคามจึงเป็นอัตลักษณ์ที่ชัดเจนอีกแห่ง โดยนายบุญช่วย อัตถากร นายกเทศมนตรีสมัยนั้นได้ให้สถาปนิกส่วนตัวคือ นายทรงคุณ   อัตถากร ออกแบบสร้างเสร็จในต้นปี  2501ภายในติดตั้งนาฬิกาขนาดใหญ่  มีเส้นผ่านศูนย์กลางหน้าปัด 1.45เมตร มีระฆังแขวนอยู่สองใบ  น้ำหนักทั้งหมด 59กิโลกรัม ใบเล็กจะดังทุก 15นาที ใบใหญ่จะดังทุก 1ชั่วโมง  ระยะของเสียงระฆังสามารถฟังได้ไกลในรัศมี 4กิโลเมตรปัจจุบัน หอนาฬิกา เปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของชาวมหาสารคาม ในเทศกาลสำคัญ เทศบาลเมืองมหาสารคามใช้เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมต่างๆ เช่น พิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ งานประเพณีสงกรานต์และมีการปรับภูมิทัศน์ ประดับตกแต่งไฟอย่างต่อเนื่องเชื่อมต่อไปยังถนนสายสีชมพูซึ่งที่มีแนวต้นมะขาม   เรียงรายสวยงามพร้อมต้อนรับลูกหลานและนักท่องเที่ยวอยู่เสมอ