Skip to content
สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานการศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิเคราะห์และจัดทำแผนงานด้านสาธารณสุข งานส่งเสริมสุขภาพ งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ งานสุขาภิบาลในสถานประกอบการ งานสุขาภิบาลชุมชน งานอนามัยสิ่งแวดล้อม งานคุ้มครองผู้บริโภค งานให้บริการด้านสาธารณสุข งานเภสัชกรรม งานพยาธิวิทยา งานรังสีวิทยา งานวิชาการทางการแพทย์ งานวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ งานการแพทย์ งานการแพทย์ฉุกเฉิน งานรักษาพยาบาล งานศูนย์บริการสาธารณสุข งานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล งานบริหารสาธารณสุข งานส่งเสริมป้องกันควบคุมโรค งานเวชปฏิบัติครอบครัว งานหลักประกันสุขภาพ งานมาตรฐานและคุณภาพหน่วยบริการ งานยุทธศาสตร์สาธารณสุข งานกฎหมายสาธารณสุข งานแพทย์แผนไทย งานส่งเสริมสนับสนุนการแพทย์แผนไทย งานกายภาพและอาชีวบำบัด งานฟื้นฟูสมรรถภาพและจิตใจผู้ป่วย งานทันตสาธารณสุข งานบริการรักษาความสะอาด งานบริการและพัฒนาระบบจัดการมูลฝอย งานบริหารจัดการสิ่งปฏิกูล งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส งานอาสาสมัครสาธารณสุข งานป้องกันและบำบัดการติดสารเสพติด งานสัตวแพทย์
งานศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิเคราะห์ กำหนดมาตรการและแผนดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม งานส่งเสริมสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม งานจัดทำและพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม งานรณรงค์และการฝึกอบรมสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม งานวางแผนและจัดทำแผนดำเนินงานด้านการเฝ้าระวัง ควบคุมมลพิษทางน้ำ อากาศ และเสียง งานเฝ้าระวัง บำบัด ตรวจสอบคุณภาพน้ำ อากาศ ของเสียและสารอันตรายต่าง ๆ งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย
สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จัดแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้
ก. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
– งานธุรการ
ข. ส่วนบริการสาธารณสุข
กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ
– งานอาสาสมัครสาธารณสุข
– งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต
– งานแผนงานสาธารณสุข
กลุ่มงานบริการทางการแพทย์
– งานศูนย์บริการสาธารณสุข
– งานเภสัชกรรม
– งานกายภาพและอาชีวบำบัด
– งานแพทย์ทางเลือก
– งานส่งเสริมป้องกันและควบคุมโรค
– งานป้องกันและบำบัดการติดสารเสพติด
ค. ส่วนบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม
กลุ่มงานจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
– งานบริการและพัฒนาระบบจัดการมูลฝอย
กลุ่มงานบริการสิ่งแวดล้อม
– งานบริการรักษาความสะอาด
– งานสัตวแพทย์
กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
– งานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
กลุ่มงานควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
– งานจัดการและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
งานบริการประชาชนสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
1. การตรวจสุขภาพและการรักษาพยาบาล
ระยะเวลาดำเนินการ 6 นาที – 1 ชั่วโมง 30 นาที
– ยื่นบัตรประจำคนไข้
– ซักประวัติคนไข้ 1 – 3 นาที
– บริการหัตถการ
– บริการแพทย์แผนไทย
– บริการทันตกรรม
– ตรวจสุขภาพคนไข้พร้อมรับใบสั่งยา 3 – 5 นาที
– จ่ายยา 2 นาที
– ให้คำปรึกษาแนะนำ /แนะนำ /นัด 3 นาที
2. การพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลาย
ระยะเวลาดำเนินการ 1 วัน (กรณีมีผู้ป่วยและการระบาดของโรค)
– ยื่นคำร้องหรือแจ้งทางโทรศัพท์
– รายงานขออนุมัติผู้บังคับบัญชา 30 นาที
– ดำเนินการพ่นหมอกควัน 1 วัน
3. การแก้ไขเหตุเดือดร้อนรำคาญ
ระยะเวลาดำเนินการ 1 – 3 วัน
– ยื่นคำร้องพร้อมตรวจสอบข้อมูลและรายงานขออนุมัติผู้บังคับบัญชา
– ดำเนินการแก้ไขปัญหา 1 – 3 วัน
– รายงานผลต่อผู้บังคับบัญชา 30 นาที
4. การบริการเก็บขยะมูลฝอยหรือกิ่งไม้
ระยะเวลาดำเนินการ 1 – 3 วัน
– ยื่นคำร้องพร้อมตรวจสอบข้อมูลและรายงานขออนุมัติผู้บังคับบัญชา
– ดำเนินการเก็บขนขยะมูลฝอยหรือกิ่งไม้ 1 – 3 วัน
– รายงานผลต่อผู้บังคับบัญชา 30 นาที
5. การขออนุญาตประกอบกิจการสะสมอาหาร
ระยะเวลาดำเนินการ 1 – 3 วัน
– ยื่นคำร้อง
– ตรวจสอบสถานประกอบการ 1 – 2 วัน
– ถูกต้อง ออกใบอนุญาต 5 วัน /ไม่ถูกต้องแจ้งผู้ประกอบการทราบและแก้ไขภายใน 7 วัน /ถูกต้อง ออกใบอนุญาต 5 วัน
6. การต่อใบอนุญาตประกอบกิจการสะสมอาหาร
ระยะเวลาดำเนินการ 3 – 5 วัน
– ยื่นคำร้อง
– ตรวจสอบสถานประกอบการ 1 – 2 วัน
– ออกใบอนุญาต 5 วัน
7. การขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การประกอบกิจการย่อมก่อให้เกิดการจ้างงานการพัฒนาเศรษฐกิจให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง แต่ในขณะ เดียวกัน หากไม่มีการควบคุมหรือกำกับดูแลที่เพียงพอการประกอบกิจการนั้นๆ อาจส่งผลต่อสภาวะความเป็น อยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของประชาชน ตลอดจนผู้ประกอบการหรือพนักงานในสถานประกอบการของ ตนเองได้ กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขจึงมุ่งเน้นที่จะให้การส่งเสริมให้สถานประกอบการได้มีการประกอบ กิจการที่เป็นมิตรต่อสุขภาพอนามัยและสุขภาวะรอบสถานประกอบการนั้นให้มีการพัฒนาที่เกื้อหนุนกัน พระ ราชบัญญัติการสาธารณสุขพ.ศ. 2535 จึงกำหนดให้ผู้ประกอบการตามที่กฎหมายกำหนดต้องขอใบอนุญาต ประกอบกิจการหรือหนังสือรับรองการแจ้งถ้าผู้ประกอบกิจการมีการเปลี่ยนแปลง สถานที่และเครื่องจักร สามารถมาขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมได้
ขั้นตอนและระยะการให้บริการ
1. ผู้ประกอบการยื่นคำขอพร้อมหลักฐานตามที่ราชการส่วน ท้องถิ่นกำหนดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น (ระยะเวลา 1 วัน)
2. เจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบให้เจ้าหน้าที่งานสุขาภิบาลตรวจ สถานที่ด้านสุขลักษณะ (ระยะเวลา 7 – 15 วัน)
3. ตรวจผ่านเสนอเรื่องเพื่ออนุญาตและนัดมาชำระค่า ธรรมเนียม (ระยะเวลา 1 – 7 วัน)
4. เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาต (ระยะเวลา 1 วัน)
เอกสารหรือหลักฐาน
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของกิจการ พร้อมรูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1” หรือ 2” จำนวน 2 แผ่น
2. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ จำนวน 1 ฉบับ
3. เอกสารเกี่ยวกับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ถ้ามี) เช่น
3.1 หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
3.2 สัญญาเช่าอาคาร พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า อย่างละ 1 ฉบับ
3.3 หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้ขอใบอนุญาตไม่ได้มาขออนุญาตด้วยตนเอง) โดยติดอากรแสตมป์พร้อมแนบหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน / สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ทั้งผู้มอบอำนาจ และ ผู้รับมอบอำนาจ อย่างละ 1 ฉบับ
3.4 ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการจากส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบสำคัญทะเบียนพาณิชย์ จำนวน 1 ฉบับ
3.5 กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล ให้ยื่นหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล จำนวน 1 ฉบับ
8. การต่อใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ระยะเวลาดำเนินการ 3 – 5 วัน
– ยื่นคำร้อง
– ตรวจสอบข้อมูล 1 – 2 วัน
– ออกใบอนุญาต 3 – 5 วัน
ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองมหาสารคาม (ศูนย์แพทย์ชุมชนเมืองบูรพา)
ได้รับการสนับสนุนบุคลากร แพทย์/เภสัชกร จากโรงพยาบาลมหาสารคาม
** รับบริการตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล /รับขึ้นทะเบียนบัตรทอง (ในวันและเวลาราชการ)
สอบถามรายละเอียดได้ที่ : ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองบูรพา โทร.043-712076