กองคลัง ให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกา งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จบำนาญ เงินอื่น ๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ ฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่าง ๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้ และรายจ่ายต่าง ๆ การควบคุมการเบิกจ่าย งานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี งานเกี่ยวกับการพัสดุของเทศบาลและงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย
กองคลัง จัดแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้
ก. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
-
งานธุรการ
ข. ฝ่ายบริหารงานคลัง
-
งานสถิติการคลัง
-
งานตรวจสอบการเบิกจ่าย
ค. ฝ่ายการเงินและบัญชี
-
งานการเงินและบัญชี
ง. ฝ่ายพัสดุและทรัพย์สิน
-
งานการพัสดุ
-
งานทะเบียนและควบคุมทรัพย์สิน
จ. ฝ่ายพัฒนารายได้
-
งานพัฒนาและเร่งรัดรายได้
-
งานผลประโยชน์และกิจการพาณิชย์
ฉ. ฝ่ายแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
-
งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
ช. ฝ่ายระเบียบการคลัง
-
งานระเบียบการคลัง
งานบริการประชาชนกองคลัง
1. การยื่นแบบเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึงภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่อง กับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นนั้น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินคือเจ้าของโรงเรือน หรือสิ่ง ปลูกสร้างอย่างอื่นๆ เช่น ตึก อาคาร เป็นต้น ที่ปลูกสร้างในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานีซึ่งใช้หาประโยชน์ โดยใช้เป็นสถานประกอบการพาณิชย์ต่าง ๆ ให้เช่า หรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัย
กรณีชำระปกติ
-
ยื่นแบบประเมินภาษี (ภ.ร.ด.2)
-
ตรวจสอบเอกสาร
-
ออกใบแจ้งรายการประเมิน (ภ.ร.ด.8) – ออกใบเสร็จรับเงิน
(กรณีชำระค่าภาษีทันที)
รายการเอกสารหลักฐานประกอบ
1.ใบเสร็จรับเงินปีที่ผ่านมาหรือสำเนาใบเสร็จรับเงิน
2.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
– ภาษีบำรุงท้องที่ เป็นภาษีที่เก็บจากบุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลซึ่งมี กรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือครอบครองอยู่ในที่ดินไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน
กรณีชำระปกติ
-
ยื่นแบบประเมินภาษี (ภ.บ.ท.5)
-
ตรวจสอบเอกสาร
-
ออกใบเสร็จรับเงิน
รายการเอกสารหลักฐานประกอบ
1. ใบเสร็จรับเงินปีที่ผ่านมา หรือสำเนาใบเสร็จรับเงิน
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
3. เอกสารประกอบอื่น ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาเอกสารสิทธิ์ที่ดิน
– ภาษีป้าย ป้าย หมายความว่าป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ชำระภาษี จำนวน 1 ฉบับ
2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ชำระภาษี จำนวน 1 ฉบับ
3. ใบอนุญาตติดป้ายหรือใบเสร็จรับเงินครั้งสุดท้าย (ถ้ามี) จำนวน 1 ฉบับ
4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท จำนวน 1 ฉบับ
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย
เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายตามแบบและวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี เจ้าของป้ายรายใหม่หรือมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงป้ายให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อรับการประเมิน ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันติดตั้งป้าย หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงป้าย
การชำระภาษีป้ายเจ้าของป้าย ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีป้ายภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ชำระได้ที่ฝ่ายพัฒนารายได้กองคลัง เทศบาลเมืองมหาสารคาม หรือโดยวิธีการส่งธนาณัติ ตั๋วแลกเงินของธนาคาร โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและการชำระผ่านทางธนาคาร
เงินเพิ่ม ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายเสียเงินเพิ่มในกรณีดังต่อไปนี้
1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลากำหนด
– เสียเงินเพิ่ม 10 % ของจำนวนเงินภาษี
– เสียเงินเพิ่ม 5 % ของจำนวนเงินภาษี กรณียื่นแบบแสดงรายการก่อนได้รับแจ้งการประเมิน
2. ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีไม่ถูกต้อง
– เสียเงินเพิ่ม 10 % ของเงินภาษี ส่วนที่ประเมินเพิ่มเติม
3. ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
– เสียเงินเพิ่ม 2 % ต่อเดือนของค่าภาษีป้าย เกิน 4 เดือน ให้เสียเพิ่ม 10 %
การขอคืนเงินภาษีป้าย
– เสียภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือเสียเกินกว่าที่ต้องเสีย
– ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษี ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เสียภาษี โดยยื่นต่อผู้บริหารท้องถิ่น
2. การปรับข้อมูลทรัพย์สินของผู้ชำระภาษีไม่ถูกต้อง
ระยะเวลาดำเนินการ 10 – 20 นาที
– ตรวจสอบเอกสาร
– ตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่
– ปรับข้อมูลในทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.1,2,36,4) และโปรแกรม
สำเร็จรูประบบแผนที่ภาษีฯ ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง
3. การขอจดทะเบียนพาณิชย์
-
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์คือ บุคคลธรรมดาคนเดียว หรือหลายคน หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ซึ่งประกอบกิจการค้าอันเป็นพาณิชย์กิจตามที่กระทรวง พาณิชย์กำหนด
ขั้นตอนการจดทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) ขั้นตอนกรณีจดทะเบียนพาณิชย์ (ตั้งใหม่)
-
ผู้ประกอบการกรอกรายการตามแบบ ทพ. และยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่/ นายทะเบียน
-
เจ้าหน้าที่/นายทะเบียนตรวจคำขอและหลักฐาน
-
ผู้ประกอบการรับใบสำคัญทะเบียนพาณิชย์และชำระค่าธรรมเนียม
เอกสารหลักฐานประกอบ
-
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกอบการ
-
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ
-
เอกสารเกี่ยวกับการประกอบการพาณิชย์ (ถ้ามี) เช่น
3.1 หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว ประชาชน , สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน
3.2 สัญญาเช่าอาคาร พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนา ทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า
3.3 หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้ประกอบการพาณิชย์ไม่ได้มาจด ทะเบียนด้วยตนเอง) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท พร้อมแนบหลักฐานสำเนา ทะเบียนบ้าน/สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ
4. แผนผังที่ตั้งร้าน
4. การขออนุญาตทำสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ ห้องตลาดสด แท่นตลาดสด
-
ยื่นคำขอตรวจสอบคำขอพร้อมเอกสารหลักฐาน
-
รายงานผู้บริหารพิจารณาสั่งการ (7 วัน)
-
ตรวจสอบสถานที่ดำเนินการ
-
ออกใบอนุญาต /ไม่ออกใบอนุญาต แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบ
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
1. บัตรประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ขออนุญาต
2. บัตรประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้านผู้จัดการหากไม่เป็นบุคคลเดียวกับผู้ถือใบอนุญาต
3. สำเนาทะเบียนบ้านของบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกาอบการ
4. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมแสดงบัตรประจำตัวของผู้แทนนิติบุคคลหากผู้ขอเป็นนิติบุคคล
5. สำเนาใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารที่ใช้แสดงว่าอาคารที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบการสามารถใช้ประกอบการนั้นได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
6. หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ กรณีผู้ขอรับอนุญาตไม่สามารถดำเนินการด้วยตัวเอง
ภาษีป้าย
ป้าย หมายความว่าป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ชำระภาษี จำนวน 1 ฉบับ
2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ชำระภาษี จำนวน 1 ฉบับ
3. ใบอนุญาตติดป้ายหรือใบเสร็จรับเงินครั้งสุดท้าย (ถ้ามี) จำนวน 1 ฉบับ
4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท จำนวน 1 ฉบับ
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย
สถานีขนส่ง
สถานีขนส่งเทศบาลเมืองมหาสารคาม ตั้งอยู่ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000 เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2573 แล้วเสร็จและประกาศเป็นสถานีขนส่งเทศบาลเมืองมหาสารคาม เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ปัจจุบันได้ทำการปรับปรุงและก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่เมื่อ พ.ศ. 2557 มีผู้ประกอบการจำนวน 12 ราย 15 เส้นทางเดินรถ
-
บริษัทชาญทัวร์ 1 เส้นทาง
-
บริษัทขอนแก่นชนะชัย 3 เส้นทาง
-
บริษัทสหสารคามยานยนต์ 1 เส้นทาง
-
บริษัทสงวนชัยเดินรถ 2 เส้นทาง
-
บริษัทสหพันธ์ทัวร์ 1 เส้นทาง
-
บริษัทขนส่ง 99999 1 เส้นทาง
-
บริษัทวาปีเดินรถ 1 เส้นทาง
-
บริษัทเชิดชัยทัวร์ 1 เส้นทาง
-
บริษัทแสงประทีป 2 เส้นทาง
-
บริษัทรุ่งประเสริฐ 1 เส้นทาง
-
บริษัทหลักเมือง 2 เส้นทาง
ผู้ใช้บริการประมาณ 2,000 – 2,500 คน/ต่อวัน มีชานชาลาช่องจอด 22 ช่อง มีผู้จำหน่ายสินค้าในอาคารจำนวน 2 ราย