ประชุมหารือระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำในเขตเทศบาลเมืองฯ

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2561 เมื่อเวลา 10.30 น. ที่ห้องประชุมนายกเทศมนตรี นพ.กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม เชิญผู้เกี่ยวข้องร่วมประชุมหารือระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยมีคณะผู้บริหารเทศบาล, สมาชิกสภาเทศบาล, หัวหน้าส่วนบริหารงานเทศบาลเมืองมหาสารคาม พร้อมด้วยโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดมหาสารคาม, สำนักงานทางหลวงจังหวัดมหาสารคาม, แขวงทางหลวงจังหวัดมหาสารคาม แขวงทางหลวงชนบทจังหวัดมหาสารคาม, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,หอการค้าจังหวัดมหาสารคาม, สมาคมชาวจังมหาสารคาม, ผู้รับเหมาและภาคประชาชน เข้าร่วมประชุมหารือในครั้งนี้ สืบเนื่องจากได้มีงบประมาณสนับสนุนจากกรมโยธาธิการและผังเมือง ในการดำเนินโครงการก่อสร้างป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่เมืองมหาสารคาม ในการป้องกันน้ำจากห้วยคะคางในฤดูน้ำหลากที่มีระดับสูงไม่ให้ไหลเข้ามายังเขตพื้นที่ในเมืองมหาสารคาม และพื้นที่โดยรอบ ซึ่งตอนนี้อยู่ในระยะแรกของโครงการครอบคลุมในพื้นที่บริเวณริมห้วยคะคาง, คลองสมถวิล-กุดนางใย, หมู่บ้านการเคหะบ้านค้อ, หมู่บ้านอยู่เจริญ, ซอยศรีมหาสารคาม และที่ลุ่มทั่วไปในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม เพื่อทำการก่อสร้างคันป้องกันน้ำท่วม พร้อมทั้งถนน ค.ส.ล.ขนาบข้าง ซึ่งได้เนินการแล้วเสร็จไปแล้วในบ้างส่วนและยังมีบ้างจุดที่ยังอยู่ในการแก้ไขแบบบ้างส่วน จากโครงการดังกล่าวยังพบว่าขอบเขตการก่อสร้างนั้น ยังครอบคลุมพื้นที่ยังไม่ทั่วถึงในพื้นที่เท่าที่ควร เสี่ยงต่อการเกิดเหตุน้ำท่วมซ้ำซาก ดังนั้นในปีงบประมาณ 2561 เทศบาลเมืองมหาสารคามจึงได้ดำเนินการศึกษาออกแบบระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำภายในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคามในระยะที่ 2 และทางด้าน รศ.ชัยวัฒน์ ขยันการนาวี อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำเสนอพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขังพร้อมแนวทางการออกแบบองค์ประกอบโครงการในระยะที่ 2 จำนวน 9 จุด ได้แก่ 1.แนวผันน้ำต้นคลองสมถวิล-เลิงบ่อ, 2.ถนนศรีสวัสดิ์รัตนโกสินทร์, 3.กุดนางใย, 4.คลองระบายท้ายกุดนางใย-ห้วยคะคาง, 5.ถนนทางหลวง 208 ฝั่งหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 6.หมู่บ้านเสริมไทยธานี-หัวยคะคาง, 7.ถนนซอยโรงฆ่าสัตว์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม, 8.ถนนจุฑางกูร ชุมชนสามัคคี 2 และถนนจุฑางกูร ซอย 6 ต่อคณะผู้เข้าร่วมประชุม และได้มีการตัดจุดเสี่ยงน้ำท่วมขังออกไป 1 จุดนั้นก็คือ ถนนซอยโรงฆ่าสัตว์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม เพราะได้มีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณนั้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงไม่จำเป็นในการนำเข้าสู่โครงการในระยะที่ 2 และยังเป็นการนำเสนอเพื่อร่วมหารือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนของโครงการในระยะที่ 2 ซึ่งในการประชุมครั้งนี้จะก่อให้เกิดแนวทางการดำเนินงานที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เทศบาลเมืองมหาสารคามและโดยรอบที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป